วันจันทร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2557

ประเทศไทยไม่เคยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย

ปัญหาเป็นตายของประเทศไทย คือปัญหาความเห็นเรียกเป็นศัพท์บาลีว่าปัญหาทิฏฐิ เรียกเป็นศัพท์สันสกฤตว่าปัญหาทฤษฎี เรียกเป็นศัพท์อังกฤษว่า Theoretical problem

ดูผิวเผิน ความเห็นเป็นเรื่องเล็กน้อยในชีวิตของคนเรา แต่ตามความเป็นจริง ผลดีหรือผลร้ายทั้งหลายในมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลหรือประเทศชาติ มีต้นเหตุมาจากความเห็นถูกหรือความเห็นผิด สัมมาทิฏฐิหรือมิจฉาทิฏฐิ ทฤษฎีถูกหรือทฤษฎีผิด Right theory หรือ Wrong theory ทั้งสิ้น

พระพุทธเจ้า ทรงเป็นบุคคลแรกในโลกที่ค้นพบบทบาทอันสำคัญเป็นเอกของความเห็น ซึ่งทรงบัญญัติความเห็นถูกหรือสัมมาทิฏฐิไว้เป็นข้อแรกของมัชฌิมาปฏิปทา ข้อเท็จจริงพิสูจน์ให้เห็นอย่างแน่นอนแล้วว่า การปฏิบัติไปสู่โมกษธรรมนั้น ถ้าปราศจากความควบคุมโดยสัมมาทิฏฐิเสียแล้ว ไม่ว่าจะประกอบด้วยความเพียรแก่กล้าเพียงใด ก็ล้มเหลวทั้งสิ้น

กิจกรรมทางโลกก็อยู่ในกฎนี้เช่นเดียวกัน ผัวเมียอยู่กันเป็นสุขหรือฆ่าตัวตาย มีมูลเหตุมาจากความเห็นถูกหรือความเห็นผิด สหรัฐช่วยอินโดจีนด้วยทฤษฎีโดมิโนที่ผิด แทนที่อินโดจีนจะเป็นประชาธิปไตยกลายเป็นคอมมิวนิสต์ สงครามในกัมพูชาจนป่านนี้ยังไม่เลิก เพราะความขัดแย้งทางทฤษฎีในพรรคคอมมิวนิสต์เขมร และเพราะความเห็นผิดของประเทศต่าง ๆ รวมทั้งสหประชาชาติ ที่เข้าไปแก้ปัญหา ฉะนั้น กล่าวตามภาษาวิชาการ พระพุทธเจ้าเป็นบุคคลแรกในโลก ที่ทรงค้นพบความสำคัญเป็นเอกของทฤษฎี

บางประเทศพัฒนาภายใต้ทฤษฎีที่ถูก บรรลุความไพบูลย์และประชาชนพ้นจากความจน บางประเทศพัฒนาภายใต้ทฤษฎีที่ผิด แม้จะมีความไพบูลย์ แต่ยิ่งพัฒนายิ่งยากจน อย่างเช่นอิหร่านสมัยพระเจ้าซาห์ปาเลวี พัฒนาเสียจริงถึงขนาด "ปฏิวัติเขียว" และเจริญก้าวหน้าด้วยเทคโนโลยีทันสมัย แต่วินาศโดยไม่ทันรู้ตัว การพัฒนาประเทศชนิดนี้ เหมือนคนมีโรคร้ายบางอย่างที่อยู่สบายดี แต่ไมเร็วก็ช้ามันจะแแสดงอาการและคร่าชีวิตแน่นอน

ประเทศไทยพัฒนามากว่าครึ่งศตวรรษ ภายใต้ทฤษฎี "ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย" ซึ่งเป็นทฤษฎีที่ผิด เพราะกลับตาลปัตรกับความเป็นจริง และมาถึงเดี๋ยวนี้ยิ่งผิดซ้ำสองถึงกับเห็นกันไปว่า ประชาธิปไตยเป็นสิ่งไม่ดี ถามว่าทำไมคนกรุงเทพมาเลือกตั้งซ่อม 24 กว่าเปอร์เซ็นต์ ตอบว่าเพราะเบื่อประชาธิปไตย เพื่อนกระผมเล่าให้ฟังว่า เขาไปฟังการอภิปรายของกรรมกรที่โรงแรมรอแยล ผู้นำกรรมกรคนหนึ่งตะโกนว่า ประชาธิปไตยช่วยเราไม่ได้ ไม่เอาแล้วประชาธิปไตย

ทั่วโลกเขาเห็นประชาธิปไตยเป็นของดีกันทั้งนั้น เขาเอาประชาธิปไตยกันทั้งนั้น แม้แต่สหภาพโซเวียตยังพยายามเปลี่ยนคอมมิวนิสต์เป็นประชาธิปไตย มีแต่บ้านเราแห่งเดียวเห็นว่าประชาธิปไตยไม่ดี เบื่อประชาธิปไตย ไม่เอาแล้วประชาธิปไตย นี่คือทฤษฎีผิดซ้ำสองต่อจากประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย ซึ่งสำหรับประเทศหนึ่งแล้วจะมีอะไรอีกที่น่ากลัวกว่านี้

แต่ยังเป็นโชคดีของประเทศไทย เพราะทฤษฎีถูกยังมีอยู่คือทฤษฎีตามพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพระราชบันทึกเสนอต่อคณะรัฐมนตรีและสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2477 ว่า "การปกครองที่เป็นอยู่เดี๋ยวนี้ เป็นลัทธิเผด็จการทางอ้อมๆ"

การปกครองลัทธิเผด็จการทางอ้อม ๆ ก็คือไม่ใช่การปกครอบแบบเผด็จการทางตรง เช่นคณะทหารหรือ Junta เป็นต้น สำหรับบ้านเราใช้ระบบรัฐสภาเป็นรูปการปกครองของระบอบเผด็จการ จึงเรียกได้ว่าเป็นการปกครองระบอบเผด็จการระบบรัฐสภา เรียกย่อว่าระบอบเผด็จการรัฐสภา ตามที่เรียกันโดยทั่วไป ก็คือการปกครองลัทธิเผด็จการทางอ้อม ๆ นั่นเอง

บังเอิญกระผมได้อื่านบทความของ "สร้อยเพชร" ในหนังสือพิมพ์ "ดาวสยาม" วันที่ 15 กรกฎาคม 2536 หัวเรื่องว่า "จะเชื่อใครกันแน่?" ตอนจบเขียนไว้ว่า

"จึงเข้าหลัก" ความรู้เดิมทางการเมืองเรื่องระบอบประชาธิปไตยเกลื่อน เมื่อได้รับความรู้ใหม่ยิ่งมากเท่าไหร่ ยิ่งทำให้ความคิดประชาธิปไตยเกิ
ดสับสนอลหม่านมากขึ้นเท่านั้น"
...
"ซึ่งข้อนี้ เฮอร์เบอร์ด สเปนเซอร์ ศาสตราจารย์ระดับนับเบอร์วันทางวิชารัฐศาสตร์ จากการเลือกตั้งของอังกฤษ ได้กำชับ "อิโต" รัฐมนตรีมหาดไทยของญี่ปุ่น ที่สนใจและได้รับการแต่งตั้งจากจักรพรรดิมัตสุฮิโต ให้ไปศึกษาแนวทางการสร้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยจากตะวันตก เมื่อสิงหาคม 2424 เป็นนักหนา ผลจึงทำให้ญี่ปุ่นเจริญเร็ว เพราะสร้างรากฐานตึกประชาธิปไตยอย่างถูกแบบ ถูกวิธี

"ส่วนของไทย ตึกประชาธิปไตยไปสร้างแบบฝรั่งเศสผสมอเมริกา ปัญหาจึงเกิดการสับสน พอคนอย่างอาจารย์ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร อักษรศาสตร์บัณฑิตรุ่นแรกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่สนใจการเมืองมาตั้งแต่ต้น จนเป็น ส.ส.ดังในสมัยโน้น ยึดถือแนวทางของ ร.5 ร.6 ร.7 ที่เดินตามอย่างอังกฤษ

"พวกสับสนกลับถือว่าเป็นของเทียม พวกคอมมิวนิสต์ทำความคิดให้เห็นเป็น ศัตรู ทั้งๆ ที่คุณขวัญแก้ว วัชโรทัย รองราชเลขาธิการแห่งพระองค์ ได้ออกมาบอกชัดๆ เมื่อต้นเดือนมกราคม 2536 ว่า อาจารย์ผู้นี้คือเจ้าของความคิดทำลายกองกำลังคอมมิวนิสต์ไทยสำเร็จ"

"จึงอยากถามว่า "เราจะเชื่อตามใครกันแน่?"

ข้อความนี้ อาจทำให้ผู้อ่านเข้าใจไปว่า ผู้เขียนบทความนี้เรียกร้องประชาชน ให้เชื่อทฤษฎีของกระผม หรือเชื่อกระผม จึงเห็นควรชี้แจงว่า ทฤษฎีของกระผมไม่มี จึงไม่มีการเชื่อทฤษฎีของกระผม ไม่มีการเชื่อกระผม กระผมมีแต่นำเอาทฤษฎีของเจ้าลัทธิประชาธิปไตยทั้งหลายมาเผยแผ่แก่ประชาชน โดยเฉพาะคือทฤษฎีของพระบิดาแห่งประชาธิปไตยในประเทศไทย คือพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูหัว ซึ่งสืบทอดโดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจขั้นตอนสุดท้าย ในพระบรมราโชบายสถาปนาการปกครองแบบประชาธิปไตยของพระมหากษัตริย์ไทยแต่ล้มเหลวเพราะถูกยึดอำนาจเสียก่อน

มีผู้กล่าวว่า การที่สมเด็จพระปกเกล้า ทรงต่อสู้กับคณะราษฎรจนถึงกับต้องทรงสละราชสมบัตินั้น เป็๋นการดิ้นเฮือกสุดท้ายของศักดินาไทย แต่สัจธรรมคือ พระมหากษัตริย์สมบูรณาญาสิทธิราชย์ตั้งแต่รัชกาลที่ 5 ถึงรัชกาลที่ 7 ทรงเป็นผู้สถาปนาการปกครองระบอบประชาธิปไตย ผู้สร้างประชาธิปไตยในประเทศไทย แต่สำเร็จเพียงขั้นตอนแรก คือยกเลิกรัฐเจ้าครองนคร (Feudal State) และสถาปนารัฐแห่งชาติ (National State) ขึ้นแทน และใจขณะที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงรัฐแห่งชาติที่เป็นสมบูรณาญาสิทธิราชย์หรือเผด็จการแบบเก่า ให้เป็นรัฐแห่งชาติที่เป็นประชาธิปไตย ก้ถูกคณะราษฎรทำลายแผนพระราชดำรินั้นเสีย โดยโค่นระบอบเผด็จการสมบูรณาญาสิทธิราชย์ลง แล้วสร้างระบอบเผด็จการคณาธิปไตยหรือ Oligarchy ในรูปของระบอบเผด็จการรัฐสภาขึ้นแทน ซึ่งสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบันดูเพิ่มเติม

 แต่ก่อนที่จะอธิบายข้อนี้ต่อไป ขอย้ำคำว่า "ศักดินา" ตามความที่กระผมเคยอธิบายไว้ในคำชี้แจงฉบับแรกๆ ว่า คำว่า ศักดินานั้นไม่ใช่ Feudalism ในภาษาอังกฤษ ซึ่งเดิมเราแปลว่า ระบบเจ้าครองนครนั้นถูกต้องแล้ว เพราะศักดินาหมายความถึงสิทธิในที่นา ซึ่งคนไทยทุกคนมี ตั้งแต่พระมหาอุปราชลดหลั่นกันลงมาจนถึงยาจกวณิพก ยกเว้นพระเจ้าแผ่นดินพระองค์เดียวไม่มีศักดินา แต่คำว่าระบบเจ้าครองนครออกจะเยิ่นเย้อ กระผมจึงขอทับศัพท์ว่า "ฟิวดัล"การกล่าวว่า พระมหากษัตริย์สมบูรณาญาสิทธิราชย์ของเรา ทรงเป็นผู้สถาปนาการปกครองระบอบประชาธิปไตยหรือสร้างประชาธิปไตยนั้น ดูเหมือนจะขัดความรู้สึกของหลายคนซึ่งยึดถือว่าพระเจ้าแผ่นดินสมบูรณาญาสิทธิราชย์คือเสาหลักของระบบฟิวดัล และจะต้องต่อต้านป...ระชาธิปไตยอย่างถึงที่สุดอย่างพระเจ้าแผ่นดินในยุโรป เช่นพระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส พระเจ้าซาร์แห่งรัสเซีย เป็นต้น

มีเรื่องเกร็ดซึ่งเพื่อนสนิทคนหนึ่งเล่าให้กระผมฟัง แต่ที่นำมาถ่ายทอดนี้ไม่ใช่เพื่อวิจารณ์หรือโจมตี หากเพื่อประกอบการศึกษาทฤษฎีเท่านั้น คือเมื่อเสร็จสงครามอินโดจีนใหม่ๆ คนไทยคณะหนึ่งเดินทางไปสหภาพโซเวียต ระหว่างสนทนากับชาวโซเวียตคนหนึ่งถึงปัญหาการปฏิวัติในประเทศไทย คนหนึ่งในคณะพูดว่าการปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทยก็เหมือนการปฏิวัติประชาธิปไตยในรัสเซีย (คือการปฏิวัติประชาธิปไตยของพวกประชาธิปไตยซึ่งเกิดขึ้นก่อนการปฏิวัติสังคมนิยมของพวกคอมมิวนิสต์ราว 8 เดือน และในการปฏิวัติประชาธิปไตยครั้งนั้น มีการสำเร็จโทษพระเจ้าซาร์นิโคลัส พระราชินี และราชโอรสราชธิดาอย่างโหดร้ายทารุณด้วย) คือจะต้องโค่นสถาบันพระมหากษัตริย์ การปฏิวัติประชาธิปไตยจึงจะสำเร็จได้ ขาวโซเวียตผู้นั้นแย้งว่า "สหาย พระเจ้าแผ่นไทยกับพระเจ้าซาร์ ไม่เหมือนกัน" ทำให้คนนั้นในคณะเงียบ

เดี๋ยวนี้ แม่้แต่ผู้ต่อต้านประชาธิปไตยและยืนหยัดรักษาระบอบเผด็จการรัฐสภาบ้านเราบางคน โดยยืนยันว่าเป็นระบอบประชาธิปไตยแล้ว ยังถือว่าการปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทยคือการทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ แทนที่จะรับความจริงว่า การปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทยคือเงื่อนไขอันจำเป็นที่สุดสำหรับการรักษาความมั่นคงของสถาบันพระมหากษัตริย์ หมายความว่า บุคคลซ้ายสุดกับบุคคลขวาสุดมีทฤษฎีตรงกันในการต่อต้านประชาธิปไตย

คำว่า การปฏิวัติประชาธิปไตยหรือ Democratic Revolution นั้น เป็นศัพท์เทคนิคหรือ Technical term หมายความถึงการเปลี่ยนแปลงระบอบเผด็จการเป็นระบอบประชาธิปไตย เรียกอีกนัยหนึ่งว่าการสถาปนาการปกครองระบอบประชาธิปไตยหรือสร้างประชาธิปไตย ซึ่งบางประเทศกระทำโดยวิธีรุนแรง บางประเเทศกระทำโดยวิธีสันติ ที่รุนแรงที่สุดคือ การปฏิวัติประชาธิปไตยในฝรั่งเศส ซึ่งเรียกว่ามหาปฏิวัติฝรั่งเศส หรือ Great French Revolution เมื่อปี 1789 การปฏิวัติประชาธิปไตยสันติวิธี คือในญี่ปุ่น ในอินเดีย และในประเทศไทยซึ่งทรงกระทำโดยรัชกาลที่ 5 สำเร็จขั้นตอนแรก และโดยรัชกาลที่ 7 ขั้นตอนสุดท้่าย แต่ล้มเหลวเพราะถูกยึดอำนาจเสียก่อนดูเพิ่มเติม
กระผมเคยอ่านพบในหนังสือสรรพนิพนธ์ของเลนินผู้ซึ่งไม่เอาลัทธิประชาธิปไตย เอาลัทธิคอมมิวนิสต์อย่างเดียวเป็นบทความสั้นๆ ซึ่งเลนินเขียนไว้ว่า ญี่ปุ่นเป็นประเทศตะวันออกประเทศเดียวที่สร้างประชาธิปไตยสำเร็จ ใครไม่เชื่อไปค้นอ่านดูก็ได้

ญี่ปุ่น เป็นประเทศตะวันออกประเทศเดียวที่สร้างประชาธิปไตยสำเร็จนั้น เป็นความจริงและข้อเท็จจริง ไม่ว่าพวกคอมมิวนิสต์ พวกเผด็จการหรือพวกประชาธิปไตย ต้องยอมรับทั้งสิ้น

แล้วใครเล่าเป็นผู้สร้างประชาธิปไตยญี่ปุ่นสำเร็จ?

ใครก็รู้ว่า คือสมเด็จพระจักรพรรดิมัตซูฮิโต พระมหากษัตริย์สมบูรณาญาสิทธิราชย์ของญี่ปุ่น ซึ่งเมื่อทรงสร้างประชาธิปไตยสำเร็จ ก็ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญของการปกครองระบอบประชาธิปไตย ซึ่งสมบูรณ์ด้วยความมั่นคงตลอดกาลของสถาบันพระมหากษัตริย์ญี่ปุ่น

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงพระราชฐานะ "ปิยมหาราช" และในปัจจุบันถึงกับเป็นเทพเจ้าผู้ศักดิ์สิทธิ์ทีเดียว เหตุสำคัญที่สุดเพราะทรงริเริ่มสถาปนาการปกครองระบอบประชาธิปไตยมาพร้อม ๆ กับสมเด็จพระจักรพรรดิมัตซูฮิโต และสำเร็จเพียงขั้นตอนแรก เพราะเสด็จสวรรคตเสียกลางคัน แต่เรื่องนี้พวกเราไม่ใคร่จะพูดถึงกัน เราถวายราชสดุดีแด่สมเด็จพระปิยมหาราชในพระราชกรณียกิจเป็นเอนกประการ แต่มักจะละเว้นพระราชกรณียกิจอันสำคัญสูงสุดคือการสถาปนาการปกครองระบอบประชาธิปไตยสำเร็จในขั้นตอนแรก ซึ่งเป็นพระราชคุณูปการสูงสุดแก่ประเทศชาติเช่นเดียวกับสมเด็จพระจักรพรรดิมัตซูฮิโตแห่งญี่ปุ่น

การปฏิวัติประชาธิปไตยในรัสเซีย สำเร็จโทษพระเจ้าซาร์ ในฝรั่งเศสสำเร็จโทษพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ในอังกฤษสำเร็จโทษพระเข้าชาลส์ที่ 1 ในประเทศยุโรปอื่น ๆ ก้ทำนองเดียวกัน คือ พระเจ้าแผ่นดินทรงขัดขวาง แม้ว่าจะไม่ถึงกับสำเร็จโทษก็ตามแต่ทรงประณีประนอมและสนับสนุนประชาธิปไตยภายหลัง

แต่ในญี่ปุ่นและในประเทศไทย พระเจ้าแผ่นดินกลับทรงเป็นผู้กระทำการปฏิวัติประชาธิปไตยเอง เรื่องมันเป็นอย่างไรกันต้องอธิบายกันยาว ขอยกไปไว้ในคำชี้แจงฉบับต่อ ๆไป ในที่นี้ขอนำเอาแต่ความจริงและข้อเท็จจริงมาเสนอไว้ก่อน เพื่อให้เห็นว่าคนที่พูดว่า การที่สมเด็จพระปกเกล้าทรงต่อสู้กับคณะราษฎรจนถึงกับต้องทรงสละราชสมบัติเป็นการดิ้นเฮือกสุดท้ายของศักดินานั้น มีความเข้าใจกลับตาลปัตรกับความจริงและข้อเท็จจริงโดยสิ้นเชิงอย่างไร

สมเด็จพระปกเกล้า ทรงเป็นบุคคลเดียวและบุคคลแรกที่ประกาศว่า การปกครองภายหลัง 24 มิถุนายน 2475 เป็นการปกครองลัทธิเผด็จการ มีแต่นักประชาธิปไตยที่แท้จริงและนักวิชาการทางการเมืองชั้นยอดเท่านั้น ที่จะประกาศออกมาเช่นนี้ได้ นักการเมืองและนักวิชาการสมัยนี้เกือบจะไม่มีสักคนที่จะกล้าพูดว่า การปกครองปัจจุบันเป็นการปกครองระบอบ เผด็จการ อย่างดีก็เพียงแต่ใช้คำว่า "เผด็จการ" ลอย ๆ หรือ "ประชาธิปไตยไม่สมบูรณ์" "ประชาธิปไตยยังไม่พัฒนา" ถึงอย่างไรก็ต้องบอกว่าเป็นประชาธิปไตยไว้ก่อน เพิ่งจะไม่กี่วันมานี้เองที่มีคอลัมนิสต์ตั้งข้อสงสัยขึ้นว่า การปกครองปัจจุบันของเราเป็นระบอบอะไร? ในขณะที่สมเด็จพระปกเกล้า ทรงประกาศทันทีหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองว่าเป็นระบอบเผด็จการ และเมื่อมีรัฐบาลจากการเลือกตั้งเราไม่กล้าพูดว่าประชาชนเบื่อหน่ายระบอบเผด็จการ แต่กลับไปสร้างความสับสนหนักขึ้นด้วยการพูดว่า ประชาชนเบื่อหน่ายประชาธิปไตย ทั้ง ๆ ที่ในโลกนี้ประชาธิปไตยคือชีวิตจิตใจของประชาชน โดยเฉพาะคนไทย ซึ่งมี "รักความเป็นไท" เป็นลักษณะประจำชาติ

ในด้านวิชาการ กระผมเคยกราบทูลถามพระเจ้าวรวงค์เธอ กรมหมื่นราธิปพงศประพันธ์ ซึ่งคนทั่วไปเรียกกันว่า "ท่านวรรณ" และเป็นอาจารย์เมื่อกระผมเรียนอยู่จุฬาฯ ว่าการปกครองระบอบประชาธิปไตยคืออะไร? ทรงตอบทันทีว่าคืออำนาจอธิปไตยของปวงชนและเสรีภาพของบุคคล ต่างกับนักวิชาการสมัยนี้ ซึ่งมักจะบอกว่านายกฯเลือกตั้งเป็นระบอบประชาธิปไตย นอกจากอาจารย์กระมล ทองธรรมชาติ คนเดียวที่พูดตรงกับ "ท่านวรรณ" ทั้งๆ ที่กระผมรู้สึกว่าเสด็จในกรมพระองค์นั้นทรงเป็นนักวิชาการทางประชาธิปไตยชั้นยอดอยู่แล้ว แต่เมื่อนึกไปถึงพระราชนิพนธ์และพระราชหัตถเลขาเชิงวิชาการทางประชาธิปไตยของสมเด็จพระปกเกล้า ดังเช่น "ข้าพเจ้าได้พูดไว้นานแล้วว่า ข้าพเจ้าจะยอมสละอำนาจของข้าพเจ้าให้แก่ราษฎรทั้งปวง แต่ไม่สมัครใจที่จะสละอำนาจให้แก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือคณะใดคณะหนึ่ง เว้นแต่จะรู้แน่ว่าเป็นความประสงค์ของประชาชนทันแท้จริงเช่นนั้น" "เป็นการยึดอำนาจกันเฉยๆ" "เป็นแค่เปลี่ยนตัวเปลี่ยนคณะกันเท่านั้น" "ผลร้ายของการปกครอง แบบ Absolute มิได้เสื่อมคลาย" "เป็นการเสียเวลาและเป็นการเสี่ยงภัยให้แก่ประเทศโดยใช่ที่" ทรงเรียก Absolute monarchy ว่า "สมบูรณาญาสิทธิ์ของพระเจ้าแผ่นดิน" และเรียก Oligarchy ว่า "สมบูรณาญาสิทธิ์ของคณะ" ช่วยให้เห็นจินตภาพง่ายขึ้น ทรงวิจารณ์รัฐธรรมนูญของคณะราษฎรใน มาตราซึ่งเป็นหัวใจของ ระบอบการปกครองว่า "เป็นการเขียนเพื่อตบตา เพื่อหลอกกันเล่นเท่านั้นเอง" และข้อสำคัญที่สุดคือ ทรงกำหนดแผนพระราชดำริเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย โดยทรงตั้งสภาผู้แทนราษฎรชั่วคราว เรียกว่า "สภากรรมการองคมนตรี" เพื่อใช้เป็นระยะผ่าน (Period of transition) ในการโอนอำนาจจากพระมหากษัตริย์ให้แก่ประชาชน ตามทฤษฎีและหลักนโยบายที่ถูกต้องของการปฏิวัติประชาธิปไตยที่ใช้ปฏิบัติกันทั่วโลกโดยเฉพาะอย่างสันติวิธีที่เป็นแบบฉบับคือในญี่ปุ่น และพระราชนิพนธ์ของพระองค์ท่านนั้น ถ้าเป็นเรื่องสำคัญมักจะทรงเป้นภาษาอังกฤษ เพื่อความแม่นยำ ทั้งอรรถและพยัญชนะและตามพระราชหัตถเลขากล่าวถึงพระราชนิพนธ์เรื่อง พระบรมราชาธิบายแก้ไขการปกครองแผ่นดิน ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไว้เมื่อ พ.ศ. 2470 ว่า "ได้ทรงเรียบเรียงรอบคอบที่สุด แสดงให้เห็นชัดว่า สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงมีพระปรีชารอบรู้ในรัฐประศาสน์ประเพณีการปกครองของไทยอย่างเก่าเป็นอย่างดี และส่วนประเพณีการปกครองอย่างที่นิยมกันอยู่ในทวีปยุโรป ได้ทรงศึกษาทราบหลักการโดยตลอด.......การเปลี่ยนแปลงอย่างนี้ รัฐบาลในประเทศสยามได้ทำไปโดยราบคาบ เพราะเรโวลูชั่นของเรานั้น พระเจ้าแผ่นดินเป็นผู้ทรงริเริ่ม ประกอบกับพระเจ้าเแผ่นดิน พระองค์นั้นทรงพระปรีชาสามารถยิ่งกว่าผู้ใดหมดในเวลานั้น....." เหล่านี้เป็นต้น กระผมรู้สึกว่าไม่เพียงแต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงเป็นเช่นนี้ แท้จริงก็คือพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเองด้วย และกระผมรู้สึกว่าไม่มีนักวิชาการทางการเมืองผู้ใดในสมัยเดียวกันจะเทียบเคียงกับสมเด็จพระปกเกล้าได้เลย และจะพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นสำคัญที่สุด จึงบอกกล่าวแก่เพื่อนฝูงอยู่เสมอว่า ถ้าอยากรู้ประชาธิปไตยต้องกลับไปสู่รัชกาลที่ 7 แต่บุคคลประเภทที่ถือว่า "เป็นการดิ้นเฮือกสุดท้ายของศักดินา" กลับพูดว่า "เขียนเองไม่เป็น คนอื่นเขียนให้ทั้งนั้น"

ความผิดพลาดทางทฤษฎีที่สำคัญที่สุดของคณะราษฎรคือไม่เชื่อสมเด็จพระปกเกล้าที่ตรัสว่า การปกครองที่คณะราษฎรสร้างขึ้นเป็นการปกครองลัทธิเผด็จการทางอ้อม ๆ

คณะราษฎรอ้างว่า การยึดอำนาจไม่ใช่เป็นการช่วงชิงแต่ทำไปเพราะไม่รู้ว่าสมเด็จพระปกเกล้ากำลังจะพระราชทานรัฐธรรมนูญ

ไม่น่าจะเป็นไปได้ที่คณะราษฎรจะไม่รู้ เพราะข่าวแพร่หลายทั้งในประเทศและต่างประเทศตั้งแต่ปลายปี 2474 ว่าสมเด็จพระปกเกล้าจะทรงเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย กระผมก็รู้เมื่อเรียนอยู่ ม.8 ปีนั้น

แต่ถึงจะไม่รู้มาก่อน คณะราษฎรก็ได้รู้จากพระราชดำรัสของสมเด็จพระปกเกล้า ว่าการปกครองที่สร้างขึ้่นนั้นไม่ถูกต้องเป็นระบอบเผด็จการ เป็นสมบูรณาญาสิทธฺิ์ของคณะหรือ Oligarchy และทรงแนะนำให้แก้ไขโดยสถาปนาการปกครองแบบประชาธิปไตยขึ้นแทนเสีย แต่คณะราษฎรก็...ไม่ยอมเชื่อฟังและปฏิบัติตามเลย คงเดินหน้าต่อไปในการสร้างการปกครองระบอบเผด็จการรัฐสภา และมีการบิดเบือนให้ประชาชนเข้าใจผิดมากขึ้นเป็นลำดับ ว่าการปกครองระบอบเผด็จการรัฐสภาเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตย จนกลายเป็นความผิดพลาดทางทฤษฎีที่เป็นปัญหาเป็นตายของชาติอยู่ในปัจจุบัน เพราะไม่มีใครเชื่อทฤษฎีที่ถูกต้องของสมเด็จพระปกเกล้าที่ว่า การปกครองปัจจุบันเป็นลัทธิเผด็จการทางอ้อม ๆ แต่กลับพากันเชื่อทฤษฎีที่ผิดของคนอื่นที่ว่า การปกครองปัจจุบันเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตย ดูเหมือนจะมีแต่กระผมคนเดียวที่เชื่อทฤษฎีของสมเด็จพระปกเกล้ามาตลอดว่า ประเทศไทยตั้งแต่ "24 มิถุนา" เป็นต้นมามีการปกครองลัทธิเผด็จการทางอ้อม ๆ และพยายามอธิบายมาตลอดให้ผู้คนเชื่อทฤษฎีนี้ของพระองค์ท่าน แต่ก็ทำได้ยากอย่างที่สุด และเต็มไปด้วยความเสี่ยงภัย

จึงเห็นได้ว่า ไม่ใช่ผู้คนไม่เชื่อกระผม อย่างที่คุณ "สร้อยเพชร" เขียนไว้ แต่ไม่เชื่อรัชกาลที่ 7 การที่คนไทยโดยเฉพาะคือนักการเมืองและนักวิชาการ ไม่เชือรัชกาลที่ 7 ในทฤษฎีประชาธิปไตย คืออันตรายถึงขั้นเป็นตายของประเทศชาติ "พฤษภาทมิฬ" คือตัวอย่างหลังสุด กระผมขอเรียกร้องพี่น้องชาวไทยให้กลับไปสู่รัชกาลที่ 7 กันเสียโดยเร็วเถิด

2. เพื่อประกอบการพิจารณาปัญหานี้ กระผมขอนำเอาบทความในนิตยสาร "วัฏจักรการเมือง" ฉบับที่ 52 4-10 มิถุนายน 2536 มาเสนอดังนี้

ประเทศไทยไม่เคยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย

คำชี้แจงจาก ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร

กระผมขอเรียนชี้แจงต่อบทความเรื่อง "ว่าด้วย "หลัก" บางอย่างของประชาธิปไตย" โดยคุณวิสุทธิ โพธิแท่น ใน "วัฏจักรการเมือง" ฉบับที่ 52 4-10 มิ.ย. 36 ซึ่งกรุณาเสนอต่อกระผม โดย "ถือว่าเป็น "การแลกเปลี่ยน" ความคิดเห็นจากผู้มีความปรารถนาดีต่อประเทศชาติด้วยกันก็แล้วกัน"

กระผมขอเรียนว่า กระผมเสนอความเห็นนอกจากเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันแล้ว ยังมีความมุ่งหมายสำคัญเพื่อให้การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันนั้น ได้ข้อยุติในปัญหาประชาธิปไตยโดยเร็วที่สุด เพื่อนำข้อยุติที่ถูกต้องไปใช้ให้ได้ผลทางปฏิบัติ เพราะประเทศไทยภายใต้ภาวะด้อยพัฒนา ซึ่งฉาบหน้าไว้ด้วยความเจริญสมัยใหม่ และตกต่ำลงถึงระดับที่คนไทยส่วนใหญ่กำลังจะอยู่กันไม่ได้นี้ ต้องการแก้ปัญหาของชาติให้ตกไปโดยด่วน ข้อมูลจากเอกสารของธนาคารโลกในนิตยสาร The Economist ฉบับล่าสุด 15-21 พ.ค. 93 ช้างล่างนี้ สอดคล้องกับความจริงของสถานการณ์ที่ประเทศชาติและประชาชนเผชิญอยู่ :-

"แม้ว่าเศรษฐกิจจะเติบโตอย่างรวดเร็วในปีที่ผ่านมาเร็ว ๆ นี้ ความจนพิสูจน์ให้เห็นว่าจะขจัดได้ยากอย่างดื้อด้าน เอกสารศึกษา 6 ประเทศเอเชียตะวันออกสรุปว่า ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวที่ล้มเหลวในการกระทำบุกรุกที่สำคัญต่อความจนในทศวรรษ 1980 (ดูตาราง) ซึ่งตรงกับคำชี้แจงของกระผมในฉบับที่ 8 ว่าคนไทยจนที่สุด ทั้งที่ประเทศไทยอุดมสมบูรณ์ที่สุดและเศรษฐกิจเติบโต 7 กว่า% โดยอ้างคำกล่าวอันถือได้ว่าเป็นสุภาษิตของ พล.อ.เกรียงศักดิ์

ฉะนั้น กระผมจึงขอความร่วมมือมายังคุณวิสุทธิ ดำเนินการเพื่อให้การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ได้ข้อยุติที่ถูกต้องในปัญหาประชาธิปไตยโดยเร็วที่สุดดูเพิ่มเติม

เพราะว่า การแก้ปัญหาของประเทศเราภายใต้สภาวการณ์ที่ดำรงอยู่ จะต้องเริ่มต้นด้วยการทำประเทศให้เป็นประชาธิปไตยหรือทำให้บทรัฐธรรมนูญที่ว่า "ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย" ได้ประจักษ์เป็นจริง ถ้าไม่เริ่มต้นจากจุดนี้แล้วการแก้ปัญหาของชาติก็จะเป็นไปไม่ได้ และจะเริ่มต้นจากจุดนี้ได้จะต้องได้ข้อยุติที่ถูกต้องในปัญหาประชาธิปไตย

การที่ต้องทำประเทศให้เป็นประชาธิปไตยนั้น ย่อมหมายความอยู่ในตัวแล้วว่า ประเทศไทยยังไม่เคยมีการปกครองระบอบ ประชาธิปไตย ตามที่กระผมได้ชี้แจงไว้ ซึ่งคุณวิสุทธิ ให้ความเห็นว่า "ถ้าหมายคว่า "ความเป็นประชาธิปไตยระดับสูง" นั้น บ้านเราไม่มี ผมก็เห็นด้วยว่าใช่ เพราะระบบและระบอบการเมืองการปกครองของเราหลัง 24 มิถุนายน มีความไม่แน่นอนอยู่ตลอด เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ยังไม่พัฒนาในเนื้อหาและยังไม่มีระเบียบวิธีทางการเมือง (Political procedures) ที่แน่นอนคงเส้นคงวา

ปัญหาคือ ยังไม่พัฒนา หรือยังไม่มี?

"ยังไม่พัฒนา" นั้น หมายความว่า "มี" แล้ว เพราะจะต้อง "มี" ก่อนจึงจะ "พัฒนา" ได้ กระผมว่าบ้านเราระบอบประชาธิปไตย "ยังไม่มี" จึงเป็นเรื่อของการทำให้ "มี" ไม่ใช่เรื่องของการ "พัฒนา" ขอให้เรามาช่วยกันทำให้มีระบอบประชาธิปไตย แล้วก็จะพัฒนาระบอบประชาธิปไตยกันได้

สรรพสิ่งและปรากฏการณ์ทั้งหลาย ต้อง "มี" ก่อน แล้วจึง "พัฒนา" เช่นเกิดเป็นคนจะอายุ 1 วันก็เป็นคน 10 ปีก็เป็นคน 30 ปีก็เป็นคน 80 ปีก็เป็นคน ซึ่งเป็นแต่ละขั้นตอนของการพัฒนา อาจจะพูดได้ว่าอายุ 30 ปีมีความเป็นคนระดับสูง อายุ 1 วันเป็นคนที่ยังไม่พัฒนา แต่จะพัฒนาระดับสูงหรือระดับต่ำหรือยังไม่พัฒนา ก็เป็นดน เพราะเมื่อเกิดมาเป็นคนแล้วก็เป็นคน ไม่เป็นอื่น

เช่นเดียวกับระบอบประชาธิปไตย เมื่อเกิดขึ้่นมาแล้วก็เป็นระบอบประชาธิปไตย ไม่เป็นระบอบอื่น ไม่ว่าจะยังไม่พัฒนาหรือพัฒนาถึงระดับไหนก็ตาม แต่บ้านเราระบอบประชาธิปไตยยังไม่เกิด จึงยังไม่เคยมีระบอบประชาธิปไตย ไม่ว่าระดับสูงหรือระดับต่ำ ใช่ว่าระบอบประชาธิปไตยระดับต่ำมี ระดับสูงไม่มีก็หาไม่

เราเข้าใจกันว่า ประเทศไทยมีระบอบประชาธิปไตยมีระบอบประชาธิปไตยแล้วตั้งแต่ 24 มิถุนายน 2475 จึงพยายามพัฒนาระบอบประชาธิปไตยกัน แต่จริง ๆ แล้วระบอบประชาธิปไตยยังไม่มี การพัฒนาสิ่งที่ยังไม่มีนั้น จะพยายามอย่างไรก็เสียแรงเปล่า

เวลานี้มีคนสงสัยกันมากขึ้นว่าประเทศไทยมีระบอบประชาธิปไตยแล้วหรือยัง เช่นปรากฏในหน้าหนังสือพิมพ์ต่างๆ คอลัมนิสต์บางคนเขียนว่าเวลานี้ประเทศไทยปกครองด้วยระบอบอะไร? บางคนเขียนว่าเป็นระบอบรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตย บางคนเขียนว่าเป็นระบอบเผด็จการรัฐสภาเลยทีเดียว ท่านที่ติดตามอ่านคงจะได้เห็นกันแล้ว

ระบอบประชาธิปไตยนั้นไม่สามารถจะเกิดขึ้นมาได้เฉย ๆ แต่ต้องทำให้เกิด เรียกว่าสร้างประชาธิปไตย ซึ่งสมเด็จพระปกเกล้า ทรงเรียกว่า สถาปนาการปกครองแบบประชาธิปไตย

แต่วิธีการในยุโรปกับในประเทศเอเชียยุคนั้นแตกต่างกัน ในยุโรปส่วนมากประชาชนลุกขึ้นดำเนินการด้วยวิธีรุนแรง เช่น การปฏิวัติฝรั่งเศส แต่ในเอเชียการสถาปนาการปกครองแบบประชาธิปไตยเป็นพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์สมบูรณาญาสิทธิราชย์ ถ้าพระเจ้าแผ่นดินทรงกระทำสำเร็จระบอบประชาธิปไตยก็เกิด ถ้าม่สำเร็จระบอบประชาธิปไตยก็ไม่เกิด ในญี่ปุ่นสมเด็จพระจักรพรรดิมัตซูฮิโต ทรงกระทำสำเร็จระบอบประชาธิปไตยเกิด ในจีนพระเจ้ากวางสู ล้มเหลว ระบอบประชาธิปไตยจึงไม่เกิด ในประเทศไทยสมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรงกระทำจวนจะเสร็จอยู่แล้ว ถูกยึดอำนาจเสียระบอบประชาธิปไตยจึงไม่เกิดเช่นเดียวกัน

โดย อาจารย์ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร (จากหนังสือนายประเสริฐ ชี้แจง เล่มที่ 9 วันที่ 22 กรกฎาคม 2536)



วันอาทิตย์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2557

หยุดงานทั่วไปชี้ขาดชัยชนะ สร้างอำนาจประชาชน บรรลุระบอบระชาธิปไตย

"ลงมือผลักดันการสร้างประชาธิปไตยตามาตรการผลักดันของกรรมกรที่ทรงพลังและสันติถูกกฎหมาย ตามวิถีทางรัฐธรรมนูญดังเช่น คำรายงานของสมัชชากรรมกรแห่งชาติคือการหยุดงานทั่วไปเพื่อสร้างประชาธิปไตย(General Strike) อันเป็นหยุดงานทางการเมือง(Political Strike) ซึ่งเป็นการปฏิบัติกฎหมายสูงสุด (SupremeLaw) คือรักษาความมั่นคงแห่งชาติทั้งสถาบันชาติ สถาบันศาสนาและสถาบันพระมหากษัตรริย์ โดยการสร้างประชาธิปไตย ต่อสู้เพื่อเอาชนะขบวนการ ล้มปืนล้มทุน ล้มเจ้า  หรืออาเพศ 10 ประการตามแบบอย่างการสร้างประชาธิปไตยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวอันเป็นการปฏิบัตินโยบาย 66/23 ขั้นตอนที่ 2 คือขยายเสรีภาพของบุคคล ขยายอำนาจอธิปไตยของปวงชนบรรลุการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันเป็นการกระจายอำนาจ และนำสู่การสร้างประชาธิปไตยทางเศรฐกิจคือ การกระจายทุน และการสร้างประชาธิปไตยทางวัฒนธรรม คือการกระจายธรรมบรรลุสังคมประชาธิปไตยที่เป็นสังคมในอุดมคติของคนไทยทุกคน และที่สำคัญที่สุดแก้ปัญหาที่กำลังเผชิญหน้าคือความขัดแย้งของลัทธิรัฐธรรมนูญระหว่างรัฐบาล กับ กปปส.ที่กำลังจะรุนแรงนองเลือดให้ยุติลงในทันทีที่กรรมกรลงมือปฏิบัติภารกิจการผลักดันการสร้างประชาธิปไตย"


วันที่ 1 พฤษภาคมของทุกปีได้รับการสถาปนาให้เป็น “วันกรรมกรสากล” หรือวันเมเดย์ (May Day)อันเป็นวันแห่งการเฉลิมฉลองชัยชนะของการต่อสู้ของมวลพี่น้องกรรมกรสากลในอดีต คือชัยชนะที่ได้มาชึ่ง “ระบอบประชาธิปไตย” และ ชัยชนะที่ได้มาซึ่ง “ระบบ 3 แปด”กล่าวอย่างเป็นรูปธรรมที่สุดคือ กรรมกรต่อสู้มีชัยชนะได้อำนาจอธิปไตยของปวงชน (Sovereigntyof the People) และกรรมกรต่อสู้มีชัยชนะได้สิทธิประชาธิปไตยด้านแรงงานในระบบ3 แปด ทำงาน 8 ชั่วโมง ศึกษา 8 ชั่วโมง พักผ่อน 8 ชั่วโมงอันเป็นการต่อสู้ที่ยิ่งใหญ่ครึกโครมที่สุดในยุคประวัติศาสตรสมัยใหม่ ซึ่งเป็นการปฏิบัติภารกิจทางประวัติศาสตร์ที่แบ่งยุคแบ่งสมัยจากยุคสมัยเก่าสู่ยุคสมัยใหม่นั่นเอง


เศรษฐกิจเสรีนิยมที่นายทุนและกรรมกร เป็นคู่แห่งเอกภาพผู้ดำเนินการระบบเศรษฐกิจทุนนิยม (Capitalism)ซึ่งเรียกว่า “ระบบเสรีนิยม” (Liberalism) เรียกด้านตลาดเสรีว่า“ระบบเศรษฐกิจการตลาด” (Market Economy)หัวใจของระบบทุนนิยมคือ “อุตสาหกรรมสมัยใหม่” ทางเศรษฐกิจ และประชาธิปไตยสมัยใหม่คือ “ระบอบประชาธิปไตย” ทางการเมืองซึ่งเพิ่งมีเมื่อ 300 ปีมานี้ระบบทุนนิยมเป็นระบบเศรษฐกิจผลิตเป็นสินค้า(Commodity)อันเป็นการผลิตจำนวนมากต่อเนื่องอย่างเป็นระบบ(Mass Production)ที่นำพามวลมนุษยชาติขึ้นสู่ยุคประวัติศาสตร์สมัยใหม่ที่ศิวิไลซ์ก้าวหน้าแม้บางลัทธิจะโจมตีว่าระบบทุนนิยมเป็นระบบที่มีการขูดรีดแต่การขูดรีดก็ทำให้เกิดการพัฒนา เป็นสองด้านของเหรียญ “ด้านหนึ่งเป็นการขูดรีดอีกด้านหนึ่งเป็นการพัฒนา” อันเป็นไปตามสัจจธรรมที่ว่า“สิ่งหนึ่งมีสองด้านที่ตรงข้ามกัน” ดังเช่น เอกภพหรือจักรวาฬ (Universal) ซึ่งประกอบด้วย 2 ด้าน คือ เอกภาพ (Unity)และความขัดแย้ง (Versus)แต่การขูดรีดที่อยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของปวงชนหรือระบอบประชาธิปไตยคอยควบคุมไว้ก็จะลดระดับการขูดรีดลงจนถึงขั้นไม่เป็นการเบียดเบียนต่อปวงชนแต่เป็นการพัฒนาให้เกิดประโยชน์สุขแก่ปวงชนการขูดรีดภายใต้ระบอบประชาธิปไตยจึงเป็นการ “ขูดรีดที่เป็นธรรมเจริญก้าวหน้าพัฒนา”ไม่ต้องล้มล้างระบบทุนนิยมก็แก้ปัญหาการขูดรีดนำไปสู่ความเจริญวิวัฒน์พัฒนาได้แต่ประเทศคอมมิวนิสต์ที่โค่นระบบทุนนิยมทิ้งใช้ระบบสังคมนิยมล้วน ๆ  แทน กลับล้าหลังไม่พัฒนาล่มสลายไปในที่สุด เช่นสหภาพโซเวียต แต่ประเทศที่ใช้ระบบทุนนิยมกลับพัฒนาเจริญก้าวหน้า เช่นประเทศจีนดังเช่นคุณธรรมของคนจะมีหรือไม่มี มีมากหรือมีน้อย ขึ้นอยู่กับจุดยืน (Standpoint) 2 ด้านหรือ 2 จุดยืน ว่าด้านใดจะมากกว่าหรือน้อยกว่าคือจุดยืนเห็นแก่ส่วนตัว กับเห็นแก่ส่วนรวม ถ้าเห็นแก่ส่วนตัวมากก็มีคุณธรรมน้อยถ้าเห็นแก่ส่วนตัวน้อยก็มีคุณธรรมมาก จึงเป็น “เอกภาพที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกัน” หรือ“ความขัดแย้งภายใต้เอกภาพ” ซึ่งตรงกับพุทธพจน์ที่ว่า “ประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน”คือ ประโยชน์ตนมากคุณธรรมน้อย ประโยชน์ตนน้อยคุณธรรมมาก


กรรมกรคือผู้ใช้แรงงาน ซึ่งหมายถึงทั้งแรงงานทางกายและแรงงานทางสมองแต่กรรมกรไม่ใช่ผู้ใช้แรงงานทั่วไปหรือไม่ใช่ผู้ใช้แรงงานทั้งหมดแต่กรรมกรนั้นหมายความถึงเฉพาะผู้ใช้แรงงานรับจ้างในระบบอุตสาหกรรมสมัยใหม่เช่นผู้ใช้แรงงานอิสระ หรือชาวนาที่ทำนาของตัวเองไม่ใช่กรรมกร อุตสาหกรรมสมัยใหม่คือการผลิตที่ใช้พลังงานเครื่องจักรไม่ใช้แรงงานคน หรือแรงงานจากสัตว์  หรือพลังงานจากธรรมชาติดั้งเดิมแต่ใช้เทคโนโลยีในการผลิต(เทคโนโลยีคือการใช้วิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้กับการผลิต)และเป็นการผลิตแบบจำนวนมากอย่างเป็นระบบต่อเนื่อง(Mass Production) กรรมกรจึงเป็นผู้ปฏิบัติอยู่กับวิทยาศาสตร์และเทศโนโลยีหรือสรรพวิทยาการที่สั่งสมมาตลอดระยะเวลาอันยาวนานของประวัติศาสตร์มนุษยชาติโดยเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของระบบเศรษฐกิจเสรีนิยม คือ “พลังการผลิต” ซึ่งเป็นส่วนที่ก้าวหน้าคู่กับ“ส่วนความสัมพันธ์การผลิต” ผู้เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต คือ นายทุน นั่นคือพลังการผลิตโดยกรรมกรจะผลักดันส่วนความสัมพันธ์การผลิตโดยนายทุนให้ก้าวหน้าพัฒนาไปไม่หยุดยั้งทั้งทางด้านเศรษฐกิจการเมือง และวัฒนธรรม สู่สังคมประชาธิปไตยอันเป็นอุดมคติ
อุตสาหกรรมสมัยใหม่คือรากฐานของระบบเศรษฐกิจทุนนิยม และผู้สร้างระบบเศรษฐกิจทุนนิยมคือนายทุนกับกรรมกรร่วมกันแต่ทำหน้าที่ต่างกัน กล่าวคือ นายทุนเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตกรรมกรเป็นพลังการผลิต นั่นคือ ฝ่ายหนึ่งเป็นทุน (Capital) อีกฝ่ายหนึ่งเป็นแรงงาน (Labour) ทุนกับแรงงานบวกกันก่อให้เกิดระบบทุนนิยมถ้าขาดฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็ไม่มีระบบเศรษฐกิจทุนนิยม ฉะนั้นนายทุนกับกรรมกรจึงเป็นลูกฝาแฝดที่แยกกันไม่ออกในการสร้างเศรษฐกิจทุนนิยมซึ่งเป็นระบบเศรษฐกิจที่ครอบงำในโลกปัจจุบันนี้ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดนักปราญช์ผู้บัญญัติศัพท์คำว่า “นายทุน กับ กรรมกร” คือพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ดังนั้น คำว่านายทุนและกรรมกรจึงเป็นคำที่มีเกียรติคู่กัน ผู้ใช้แรงงานเป็นคำธรรมดา เพราะหมายถึงผู้ใช้แรงงานทั่วไปและใคร ๆ ก็เป็นผู้ใช้แรงงานได้ แต่กรรมกรเป็นผู้ใช้แรงงานที่เป็นองค์ประกอบที่ขาดมิได้ในการสร้างระบบเศรษฐกิจทุนนิยมกรรมกรจึงเป็นผู้มีคุณูปการที่ยิ่งใหญ่แก่สังคมมนุษยชาติในยุคปัจจุบันในระบบทุนิยมนายทุนกับกรรมกรต้องอยู่ร่วมกันและร่วมกันดำเนินระบบเศรษฐกิจแห่งชาติโดยมีหน้าที่ทางเศรษฐกิจ คือ นายทุนออกทุนกรรมกรออกแรง แต่ในระบบสังคมนิยมมีแต่กรรมกรอย่างเดียวไม่มีนายทุนแต่ต้องใช้ระบบทุนนิยมไปช่วยสร้างสังคมนิยมจึงจะดำรงค์อยู่และพัฒนาไปได้ เช่น จีนเวียดนาม ลาว เขมร เป็นต้น


กรรมกรนอกจากจะเป็นผู้สร้างระบบทุนนิยมคู่กับนายทุนดังกล่าวแล้วยังเป็นผู้สร้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยและระบบเศรษฐกิจทุนนิยมเป็นรากฐานของการปกครองระบอบประชาธิปไตยและระบบเศรษฐกิจทุนนิยมจะดำรงอยู่และพัฒนาไปสู่ความไพบูลย์ได้ต้องอาศัยการปกครองประชาธิปไตย ถ้าการปกครองเป็นระบอบเผด็จการไม่ว่ารูปใด ๆก็ไม่เพียงแต่จะขัดขวางพัฒนาการของระบบเศรษฐกิจทุนนิยมเท่านั้นหากยังเป็นอันตรายแก่ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมถึงกับวินาศย่อยยับได้ด้วยดังเช่นการปกครองระบอบเผด็จการในหลายประเทศ และวิกฤตเศรษฐกิจพ.ศ. 2540ของประเทศไทย เป็นเงื่อนไขให้คอมมิวนิสต์ทำลายระบบเศรษฐกิจทุนนิยมทำให้ประเทศเหล่านั้นกลายเป็นคอมมิวนิสต์ไป


กรรมกรร่วมกับนายทุนในการสร้างประชาธิปไตยนั้นทำหน้าที่คนละอย่างเช่นเดียวกับการร่วมกันสร้างทุนนิยม กล่าวคือนายทุนเป็นผู้สร้างหลักการของการปกครองระบอบประชาธิปไตย เช่น อำนาจอธิปไตยของปวงชนเสรีภาพ ความเสมอภาค หลักนิติธรรม และรัฐบาลจากการเลือกตั้ง หลักการเหล่านี้ของการปกครองระบอบประชาธิปไตยทำให้การปกครองระบอบประชาธิปไตยกลายเป็นการปกครองที่ดีที่สุดของมวลมนุษยชาติจึงได้รับความสนับสนุนจากประชาชนทั่วไปแต่เมื่อนายทุนได้อำนาจการปกครองประเทศโดยการสนับสนุนจากประชาชน สำคัญที่สุดคือความสนับสนุนจากกรรมกรแล้ว ก็ละทิ้งหลักการประชาธิปไตยที่ตนสร้างขึ้นเสียเองและหันไปใช้การปกครองระบอบเผด็จการกรรมกรจึงนำประชาชนเข้าต่อสู้เพื่อผลักดันให้นายทุนปฏิบัติหลักการประชาธิปไตย ทำให้การสร้างประชาธิปไตยเป็นผลสำเร็จความสำเร็จของการสร้างประชาธิปไตยจึงเกิดจากบทบาทของกรรมกรเป็นสำคัญ ไม่ว่าในอักฤษฝรั่งเศส อเมริกา ญี่ปุ่น หรือประเทศอื่น ๆ ที่สร้างประชาธิปไตยสำเร็จล้วนแต่เป็นเพราะการต่อสู้ของกรรมกรทั้งสิ้น ประเทศใดกรรมกรไม่ต่อสู้เพื่อสร้างประชาธิปไตยประเทศนั้นก็สร้างประชาธิปไตยไม่สำเร็จดังนั้น กรรมกรจึงเป็นผู้ชี้ขาดความสำเร็จของการสร้างประชาธิปไตยกรรมกรจึงเป็นผู้มีเกียรติอย่างยิ่งแต่ความเป็นจริงข้อนี้ประชาชนมักจะมองไม่ใคร่เห็นเพราะนักประวัติศาสตร์มักจะมีอคติต่อกรรมกร
เมื่อกรรมกรมีบทบาทสำคัญในการสร้างประชาธิปไตยเช่นนี้จึงมีสิทธิ์ที่จะได้รับประโยชน์จากการปกครองระบอบประชาธิปไตยอย่างเต็มภาคภูมิทั้งสิทธิทางเศรษฐกิจ สิทธิทางการเมือง และสิทธิทางสังคมรวมถึงสิทธิด้านแรงงานสัมพันธ์ไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือหลักกฎหมายใดในประเทศประชาธิปไตยตัดสิทธิเหล่านี้ของกรรมกรถ้ากรรมกรของประเทศใดถูกตัดสิทธิเหล่านี้ ประเทศนั้นจะอ้างว่ามีการปกครองระบอบประชาธิปไตยมิได้เลยข้อเท็จจริงในประเทศประชาธิปไตยทั้งหลาย เช่น ในอังกฤษ ฝรั่งเศส อเมริกา ญี่ปุ่นฯลฯ ยืนยันว่ากรรมกรมีสิทธเหล่านี้อย่างบริบูรณ์และกล่าวเฉพาะสิทธิด้านแรงงานสัมพันธ์แล้วมาตรฐานก็คืออนุสัญญาทั้งหลายขององค์การกรรมกรระหว่างประเทศของสหประชาชาติ หรืออนุสัญญา ILO หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก วันที่ 30 เมษายน 51 พาดหัวว่า“ตบหน้าลูกจ้างล้มถกค่าแรงดับฝันวันเมย์เดย์-ม็อบฮึ่ม”กรรมกรเรียกค่าแรงขั้นต่ำอีก 9 บาทปรากฎว่าค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันขึ้นไปรออยู่แล้ว 22 บาทแสดงว่ายิ่งเรียกร้องค่าแรงขั้นต่ำยิ่งไม่พอกินดังเช่นเรียกร้องค่าจ้างขั้นต่ำกันตลอดมาทุก ๆ ปี มีทางเดียวเท่านั้นคือเรียกร้องให้พอกิน คือเรียกร้องประชาธิปไตยเช่นเดียวกับกรรมกรทั้งโลก


แต่ประเทศไทยยังไม่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยจึงไม่มีสิทธิใด ๆ ทั้งสิ้นและยากจนหนักลง ถ้าดูอีกแง่หนึ่ง เมืองไทยมีประชาธิปไตยเหมือนกันแต่ประชาธิปไตยที่เรามีนั้น ไม่ใช่การปกครองระบอบประชาธิปไตยแค่เพียงมีวิธีการประชาธิปไตยบางอย่าง เช่น ระบบรัฐสภาและการเลือกตั้งเป็นต้นและเอาสิ่งเหล่านี้มารับใช้การปกครองระบอบเผด็จการเท่านั้นการปกครองของเราเป็นระบอบเผด็จการ เพราะอำนาจอธิปไตยอยู่ในกำมือของนายทุนพ่อค้านักธุรกิจแต่เอาระบบรัฐสภามาเป็นรูปแบบของการปกครองเผด็จการจึงเรียกว่าระบอบเผด็จการชนิดนี้ว่าการปกครองระบอบเผด็จการรัฐสภาแต่มีการหลอกกรรมกรและประชาชนว่าเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตยเครื่องมือสำคัญที่ใช้ในการหลอกก็คือการเลือกตั้งแบบเผด็จการซึ่งเป็นการเลือกตั้งที่ตัดสิทธิ์ทางการเมืองอย่างร้ายแรงชนิดที่ไม่เคยมีในการเลือกตั้งของระบอบประชาธิปไตยในประเทศใดๆ ไม่ต้องดูจากการตัดสิทธิ์ทางการเมืองของประชาชนทั่วไป ดูแต่เพียงตัดสิทธิด้านแรงงานสัมพันธ์ที่ไม่ยอมให้กรรมกรรัฐวิสาหกิจมีสหภาพแรงงาน หรือไม่ยอมให้มีสหภาพแรงงานสำหรับกรรมกรทั่วไปเช่นพรบ.แรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518 แต่เป็นพรบ.ที่ตัดสิทธิของกรรมกรอย่างรุนแรงและปัญหาความยากจน ก็เห็นชัดเจนแล้วว่า ประเทศเราไม่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย


เมื่อประเทศยังไม่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยหรือยังไม่เป็นประชาธิปไตย กรรมกรจึงมีภารกิจในการต่อสู้เพื่อทำให้ประเทศเป็นประชาธิปไตยเพราะกรรมกรต้องต่อสู้เพื่อทำให้ประเทศเป็นประชาธิปไตยแล้วเท่านั้นจึงจะมีกฎหมายรับรองสิทธิโดยบริบูรณ์ของกรรมกรและกรรมกรจึงจะหมดสิ้นความยากจนได้


ฉะนั้นเมื่อพูดถึงสิทธิของกรรมกรไทยในปัจจุบัน รวมทั้งพนักงานรัฐวิสาหกิจ จึงหมายถึงสิทธิของกรรมกรในประเทศเผด็จการไม่ใช่สิทธิของกรรมกรในประเทศประชาธิปไตย


สิทธิของกรรมกรในประเทศเผด็จการนั้นด้านหนึ่งกรรมกรถูกตัดสิทธิอย่างรุนแรง เป็นต้นแต่อีกด้านหนึ่งกรรมกรมีสิทธิโดยธรรมชาติในการต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งประชาธิปไตยจะเห็นได้จากข้อเท็จจริงที่กรรมกรในประเทศต่าง ๆใช้สิทธิของตนในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย เช่น อังกฤษ อเมริกา  ฝรั่งเศส ฯลฯ ที่กล่าวมาแล้วซึ่งกรรมกรในประเทศเหล่านั้นจะต้องใช้สิทธิตามธรรมชาติต่อสู้ให้ได้มาซึ่งประชาธิปไตยเท่านั้นกรรมกรจึงจะมีสิทธิตามกฎหมายในระบอบประชาธิปไตยได้ การหวังจะให้มีสิทธิตามระบอบประชาธิปไตยในขณะที่ยังไม่มีระบอบประชาธิปไตยนั้นเป็นไปไม่ได้


ฉะนั้นการใช้สิทธิของกรรมกรไทยในปัจจุบันรวมทั้งกรรมกรรัฐวิสาหกิจจึงหมายถึงการใช้สิทธิตามธรรมชาติซึ่งมีอยู่อย่างกว้างขวางในการต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งประชาธิปไตยและเป็นการต่อสู้ โดยสันติตามวิถีทางรัฐธรรมนูญซี่งเป็นทางเดียวที่จะบรรลุความสำเร็จของการสร้างประชาธิปไตยในประเทศไทย


การผลักดันการสร้างประชาธิปไตยโดยกรรมกรนั้นมีอยู่เป็นสากลอันเป็นสิทธิของกรรมกรตามที่ILO รับรองอยู่แล้วซึ่งมีอยู่ตามคำรายงานต่อที่ประชุมสมัชชากรรมกรแห่งชาติสมัยประชุมที่ 1/2536 เมื่อ 11 กันยายน 2536 ณ ปากช่อง นครราชสีมา เรื่อง“แนวทางการต่อสู้ของกรรมกรไทยกับการแก้ไขปัญหาของชาติ” ดังต่อไปนี้


“เพื่อนกรรมกรที่รักแนวทางของกรรมกรคืออะไรนั้น กรรมกรทุกคนทราบดีอยู่แล้วแนวทางของกรรมกรก็คือแนวทางการหยุดงานทั่วไป


แนวทางการหยุดงานทั่วไปเป็นแนวทางการต่อสู้ของกรรมกรเองโดยเฉพาะและเป็นแนวทางของกรรมกรทั่วโลกแม้ว่ากรรมกรจะมีรูปแบบการต่อสู้อย่างอื่น แต่การหยุดงานทั่วไปเป็นรูปแบบการต่อสู้สูงสุดของกรรมกรจึงทำให้การหยุดงานทั่วไปมีประสิทธิภาพสูงสุดในการโค่นเผด็จการ และการสร้างประชาธิปไตย


การสร้างประชาธิปไตยในประเทศต่างๆ นอกจากที่ดำเนินการโดยพระมหากษัตริย์แล้วสำเร็จลงด้วยการหยุดงานทั่วไปของกรรมกรเป็นพลังผลักดันทั้งสิ้นเพราะเมื่อนายทุนได้อำนาจรัฐด้วยการสนับสนุนจากกรรมกรแล้ว ก็ละทิ้งหลักการประชาธิปไตยของตนเสียหันไปใช้การปกครองระบอบเผด็จการที่ตนโค่นล้มลงไปกรรมกรจึงต้องผลักดันให้นายทุนปฏิบัติหลักการประชาธิปไตยของตนวิธีผลักดันที่สำคัญที่สุดคือการหยุดงานทั่วไป นี่คือกรรมกรเป็นผู้สร้างประชาธิปไตยร่วมกับนายทุนทำให้ความสำเร็จของการสร้างประชาธิปไตยขึ้นอยู่กับบทบาทของกรรมกร ถ้าไม่มีการผลักดันจากกรรมกรแล้วนายทุนก็ไม่ยอมสร้างประชาธิปไตยแต่นักประวัติศาสตร์มักจะปิดบังความจริงข้อนี้ พราะมีอคติต่อกรรมกร


การหยุดงานทั่วไปมีบทบาทชี้ขาดในประวัติศาสตร์ของการโค่นล้มเผด็จการสร้างประชาธิปไตยเริ่มต้นด้วยการสร้างประชาธิปไตยของขบวนการกรรมกรชาติสต์(Chartist) ในอังกฤษซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยของอังกฤษที่เป็นแบบฉบับโดยการหยุดงานทั่วไปเป็นรูปการต่อสู้ที่สำคัญระยะหลังสุดคือการโค่นล้มระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตและยุโรปตะวันออกโดยเฉพาะในโปแลนด์  ระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์นั้นไม่มีใครคาดคิดมาก่อนว่าจะถูกโค่นลงมาได้แต่ขบวนการกรรมกรโซลิดาริตี้ (Solidarity)ในโปแลนด์ก็พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าสามารถโค่นลงได้ด้วยการหยุดงานทั่วไปไม่ว่าการปกครองระบอบเผด็จการรูปใด รวมทั้งระบอบเผด็จการระบบรัฐสภาสามารถเปลี่ยนแปลงให้เป็นระบอบประชาธิปไตยได้ทั้งสิ้นได้ด้วยการหยุดงานทั่วไป นีคือสูตรของการสร้างประชาธิปไตยในประเทศทั้งปวงประเทศไทยก็ไม่มีข้อยกเว้น แต่การหยุดงานทั่วไป จะเป็นไปตามลักษณะพิเศษของประเทศไทยคือ เป็นสันติวิธีอย่างแท้จริง
พี่น้องกรรมกรทั้งหลายเมื่อพระราชกรณียกิจสถาปณาการปกครองระบอบประชาธิปไตยของพระมหากษัตริย์สมบูรณาญาสิทธิราชถูกขัดขวางทำลาย ภารกิจการสร้างประชาธิปไตยในประเทศก็มาตกอยู่กับกรรมกร ฉะนั้นแนวทางการต่อสู้ของกรรมกรไทยกับการแก้ปัญหาของชาติก็คือการหยุดงานทั่วไปเพื่อการสร้างประชาธิปไตยและนี่คือภารกิจของสมัชชากรรมกรแห่งชาติ”


ดังนั้นเพื่อบรรลุความสำเร็จในภารกิจทางประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่สร้างประชาธิปไตยแก้ไขปัญหาของชาติและของประชาชนแล้วจะแก้ปัญหาของกรรมกรตกไปอย่างเป็นไปเองกระผมจึงเสนอต่อมวลพี่น้องกรรมกรผู้มีเกียรติทั้งหลายและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายดังต่อไปนี้...


1. เริ่มต้นมาตรการแรกที่สุดคือ ปฏิวัติขบวนการกรรมกรให้สำเร็จเสียก่อน คือ เลิกคิดเลิกเรียกตัวเองว่า“ผู้ใช้แรงงาน” หรือ “พนักงานรัฐวิสาหกิจ” กลับไปสู่สภาพเดิมแท้ (Status-quo) เป็นตัวของตัวเอง คือ “กรรมกร”ซึ่งเป็นคำที่มีเกียรติสูงส่งที่สุดตามที่พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ได้รับรองไว้อย่ายอมตกเป็นทาสทางความคิดของฝ่ายเผด็จการที่ทำลายกรรมกรให้อ่อนแอพ่ายแพ้โดยบิดเบือนความเป็นกรรมกรและภารกิจทางประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ของกรรมกรทั้งด้านเศรษฐกิจและด้านการเมือง


 2. ให้ฝ่ายการเมือง และข้าราชการที่เกี่ยวข้องกับกรรมกรทั้งสิ้นให้ช่วยปลดปล่อยทางความคิดจิตวิญญาณและทางการเมืองอันเป็นการสร้างประชาธิปไตยมาตรการแรกคือ เปลี่ยนคำว่า “พนักงานรัฐวิสาหกิจและผู้ใช้แรงงาน” มาเป็นคำว่า “กรรมกร”ที่ถูกต้องตามหลักวิชาและเป็นการให้เกียรติไม่เหยียดหยามต่อกรรมกรเยี่ยงเผด็จการโดยเปลี่ยนวันแรงงานแห่งชาติเป็นวันกรรมกรแห่งชาติดังประกาศคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ.2498อีกทั้งให้สิทธิเสรีภาพแก่กรรมกรในการเคลื่อนไหวกู้ชาติสร้างประชาธิปไตยแก้ปัญหาชาติประชาชนอันเป็นการแก้ปัญหาของกรรมกรอย่างเป็นไปเอง รัฐบาลจะได้ไม่ต้องมาคอยแก้ไขปัญหาม็อบหรือปัญหาค่าแรงขั้นต่ำไม่รู้จบอยู่เช่นนี้ และกรรมกรจะช่วยแก้ปัญหาการเมือง เศรษฐกิจสังคม-วัฒนธรรมอย่างทั่วด้าน คือช่วยเป็นแรงพลังผลักดันช่วยรัฐบาลสร้างประชาธิปไตยให้สำเร็จรัฐบาลก็จะมีเสถียรภาพอยู่ได้ยาวนานต่อไป


3. พี่น้องกรรมกรผู้มีเกียรติที่รักทั้งหลายเริ่มติดอาวุธทางความคิดโดยยึดถือแนวทางการแก้ปัญหาชาติของขบวนการกรรมกรไทยที่สืบทอดพระบรมราโชบายการสถาปณาการปกครองแบบประชาธิปไตยของล้นเกล้ารัชกาลที่ 7 พระบิดาแห่งระบอบประชาธิปไตย ที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับนโยบาย66/23 อันเป็นนโยบายแห่งชาติที่เคยใช้รักษาเอกราชของชาติไว้มาแล้ว 3 ครั้งคือรักษาเอกราชจากการรุกรานของลัทธิล่าอาณานิคมโดยสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงรัชกาลที่ 5รักษาชาติบ้านเมืองจากภัยคอมมิวนิสต์อินโดจีนด้วยการต่อสู้เอาชนะปฏิเสธทฤษฎีโดมิโนตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 110/12 โดยรัฐบาลจอมพล ถนอม  รักษาชาติและราชบัลลังก์จากภัยของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยตามนโยบาย66/23 โดยรัฐบาลพลเอก เปรม


4. พี่น้องกรรมกรผู้มีเกียรติที่รักทั้งหลายเริ่มทำการจัดตั้งองค์การมวลชนกรรมกรระดับชาติให้เป็นเอกภาพเข้มแข็งในรูปของ“สภาแรงงานแห่งชาติ”(NationalLabour Council) ตามหลักการจัดตั้ง 5 หลักขององค์การสหประชาชาติ คืออิสระภาพ เสรีภาพ เสมอภาค สุขุมคัมภีรภาพ ดุลยภาพ


5. ลงมือผลักดันการสร้างประชาธิปไตยตามาตรการผลักดันของกรรมกรที่ทรงพลังและสันติถูกกฎหมาย ตามวิถีทางรัฐธรรมนูญดังเช่น คำรายงานของสมัชชากรรมกรแห่งชาติคือการหยุดงานทั่วไปเพื่อสร้างประชาธิปไตย(General Strike) อันเป็นหยุดงานทางการเมือง(Political Strike) ซึ่งเป็นการปฏิบัติกฎหมายสูงสุด (SupremeLaw) คือรักษาความมั่นคงแห่งชาติทั้งสถาบันชาติ สถาบันศาสนาและสถาบันพระมหากษัตรริย์ โดยการสร้างประชาธิปไตย ต่อสู้เพื่อเอาชนะขบวนการ ล้มปืนล้มทุน ล้มเจ้า  หรืออาเพศ 10 ประการตามแบบอย่างการสร้างประชาธิปไตยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวอันเป็นการปฏิบัตินโยบาย 66/23 ขั้นตอนที่ 2 คือขยายเสรีภาพของบุคคล ขยายอำนาจอธิปไตยของปวงชนบรรลุการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันเป็นการกระจายอำนาจ และนำสู่การสร้างประชาธิปไตยทางเศรฐกิจคือ การกระจายทุน และการสร้างประชาธิปไตยทางวัฒนธรรม คือการกระจายธรรมบรรลุสังคมประชาธิปไตยที่เป็นสังคมในอุดมคติของคนไทยทุกคน และที่สำคัญที่สุดแก้ปัญหาที่กำลังเผชิญหน้าคือความขัดแย้งของลัทธิรัฐธรรมนูญระหว่างรัฐบาล กับ กปปส.ที่กำลังจะรุนแรงนองเลือดให้ยุติลงในทันทีที่กรรมกรลงมือปฏิบัติภารกิจการผลักดันการสร้างประชาธิปไตย

โดย อนุสรณ์ สมอ่อน

บัญญัติ 10 ประการ สู่ชัยชนะของขบวนการกรรมกรไทยและประชาชนทั้งชาติ ในการสร้างประชาธิปไตย

พลิกบทบาทขบวนการกรรมกรไทย จากความอ่อนแอพ่ายแพ้มาสู่ความเข้มแข็งมีเอกภาพ สู่ ชัยชนะของขบวนการกรรมกรไทยและประชาชนทั้งชาติ

ถ้าไม่มีการพัฒนาการต่อสู้ของขบวนการกรรมกรให้มีความแหลมคมยิ่งขึ้นไมมีแนวทางและมาตรการเพื่อบรรลุความเข้มแข็ง เป็นเอกภาพของกรรกรก็ไม่สามารถนำประชาชนไปสู่ชัยชนะได้ การทำให้ขบวนการต่อสู้มีความเข้มแข็งเป็นเอกภาพได้นั้นเราต้องยอมรับในข้อเท็จจริง(fact) ก่อนว่าสถานการณ์ของการต่อสู้ในขณะนี้เป็นการต่อสู้กับอำนาจทางการเมืองเผด็จการรัฐสภาซึ่งกำลังใช้อำนาจที่มาจากการหลอกลวงประชาชนเป็นไส้ศึกให้ต่างชาติยึดกรรมสิทธิ์ของคนไทย เป็นเอเยนต์(agent)ให้ต่างชาติ เราตกอยู่ในสถานการณ์การต่อสู้กับทุนข้ามชาติเป็นสงครามการรุกรานทางเศรษฐกิจจากต่างชาติซึ่งขบวนการต่อสู้ที่สามารถต่อสู้เอาชนะได้นั้นก็คือขบวนการกรรมกรไทยซึ่งมีขบวนการกรรมกรรัฐวิสาหกิจเป็นหัวขบวนจึงจะสามารถต่อสู้เอาชนะสงครามรุกรานทางเศรษฐกิจได้

“สถานการณ์ของขบวนการแรงงานไทยนั้นตกอยู่ในสภาพที่อ่อนแอไร้เอกภาพอย่างสิ้นเชิง”

เราต้องยอมรับอย่างคนที่ก้าวหน้าว่า“ความผิดพลาด ล้มเหลวของขบวนการแรงงานไทย คือสิ่งที่ดำรงอยู่จริง” ซึ่งเห็นได้จากการต่อสู้ที่พ่ายแพ้ตลอดมา ดังนั้น มาตราการเฉพาะหน้าก็คือต้องวิเคราะห์ค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของความล้มเหลวผิดพลาดนั้นและเมื่อค้นพบสาเหตุของความล้มเหลวผิดพลาดแล้วจึงค้นหาแนวทางการแก้ไขปัญหาหรือสาเหตุของปัญหา นั่นคือการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ นั่นเอง

จากการวิเคราะห์อย่างรอบด้านทั้งทางหลักการและบุคคลทั้งด้านแนวทางการเมืองและแนวทางการต่อสู้ ทั้งด้านโครงสร้างการจัดตั้งและด้านทฤษฎี ซึ่งครบทั้งด้านอัตตวิสัย และด้านภาววิสัย

สาเหตุที่เป็นรูปธรรมของความผิดพลาดล้มเหลวของขบวนการแรงงานไทยดังต่อไปนี้

1.มีแนวทางการเมืองที่ผิดคือ ใช้แนวทางการเมืองของเผด็จการรัฐสภา (นายทุน) ไม่มีแนวทางการเมืองที่เป็นอิสระของตนเอง

2.มีแนวทางการจัดตั้งตามโครงสร้างที่แบ่งแยก ทำลายความเป็นเอกภาพของขบวนการแรงงานไทยไม่มีองค์การระดับชาติที่เป็นอิสระ เป็นเอกภาพ ( Independent Organization )

3.มีแนวทางการต่อสู้ที่ผิดคือ ใช้แนวทางการต่อสู้ของนักเคลื่อนไหว นั่นคือการชุมนุมใหญ่ หรือ ม็อบ ซึ่งเป็นแนวทางของเผด็จการรัฐสภาไม่ใช่แนวทางการต่อสู้ของตนเองที่เป็นอาวุธอันทรงพลังสูงสุด นั่นคือ “การหยุดงานทั่วไป”(General Strike )

4.ไม่มีอาวุธทางความคิดที่แหลมคม ( Ideological Weapon ) หรือไม่มีอุดมการณ์ที่ถูกต้องคือ “ลัทธิประชาธิปไตย” ( Democracy )

5.ไม่มีนักวิชาการอิสระของขบวนการแรงงานไทยเอง ไม่มีผู้นำแรงงานที่แท้จริงรับเอาแต่นักวิชาการเผด็จการมาเป็นผู้นำทางความคิดทฤษฎีของขบวนการแรงงานคือไม่มีผู้รู้ทฤษฎี ( Theoretician) ไม่มีนักยุทธศาสตร์ ( Strategist ) และไม่มีนักจัดตั้ง( Organizer )

6.อยู่ในลัทธิสหภาพ ( TradeUnionist ) อยู่ภายใต้กฎหมายของระบอบเผด็จการรัฐสภา ทั้ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ปี 2518 ที่บังคับใช้ต่อแรงงานเอกชน และ พ.ร.บ. แรงงานรัฐวิสาหกิจปี 2543 ที่บังคับใช้ต่อแรงงานรัฐวิสาหกิจ

7. ขึ้นต่อองค์การแรงงานต่างชาติ ( ILO, NGO ) ไม่สัมพันธ์แบบอิสระเป็นตัวของตัวเอง ทั้งด้านความคิดและด้านการเงินเป็นต้น

8.ใช้ศัพท์ผิดหลักวิชาคือ “ผู้ใช้แรงงาน” ซึ่งหมายถึงชาวนาและผู้ใช้แรงงานอิสระทั่วไปไม่ใช้คำว่า “กรรมกร” ซึ่งหมายถึงผู้ใช้แรงงานรับจ้างในอุตสาหกรรมสมัยใหม่( Wage Laborer ) จึงไม่มีจิตสำนึกระลึกรู้ความสำคัญหน้าที่และภารกิจของตนเองทั้งด้านเศรษฐกิจ และ ด้านการเมืองผู้นำกรรมกรเป็น “ผู้นำกรรมกรที่เป็นตัวแทนเผด็จการรัฐสภา(นายทุน ) หรือ ผู้แทนเผด็จการรัฐสภาในขบวนการกรรมกร” นั่นคือรักษาผลประโยชน์ให้แก่เผด็จการรัฐสภา(นายทุน)ถ่ายเดียว

9.ผู้นำกรรมกรมีความกลัว ( Fearfulness) ไม่มีความทุ่มเท เสียสละ และกล้าสู้ไม่กล้าชนะ จิตใจห่างไกลโมกษธรรม

ฉะนั้นเมื่อเราทราบสาเหตุที่แท้จริงทั้ง 10 ประการแล้ว จึงจะสามารถแก้ปัญหาขบวนการแรงงานให้เข้มแข็งเป็นเอกภาพได้ด้วยการปฏิบัติมาตรการที่เป็นรูปธรรมดังนี้ คือ

1.แนวทางการเมืองของขบวนการกรรมกรไทยที่ถูกต้องที่มีอยู่แล้วคือ “แนวทางแก้ไขปัญหาของชาติของขบวนการกรรมกรไทยที่สรุปขึ้นจากผลการประชุมอภิปรายของผู้แทนกรรมกรทั่วประเทศ ณ ลุมพินีสถานเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2518”

2.แนวทางการจัดตั้งระดับชาติที่มีความเป็นอิสระเป็นเอกภาพของขบวนการกรรมกรไทยซึ่งมีโครงสร้างการจัดตั้งที่ถูกต้องตามหลักการการจัดตั้งของสหประชาชาติ 5 ประการคือ อิสรภาพ เสรีภาพ เสมอภาพ ดุลย-ภาพ และสุขุมคัมภีรภาพ

3.แนวทางการต่อสู้ที่ถูกต้องที่เป็นอาวุธอันทรงพลังที่สุดของขบวนการกรรมกรไทยคือ “หยุดงานทั่วไปเพื่อสร้างประชาธิปไตย” ตามคำรายงานต่อที่ประชุมของสมัชชากรรมกรแห่งชาติเรื่อง “แนวทางการต่อสู้ของกรรมกรไทยกับการแก้ไขปัญหาของชาติ” ณ โรงแรมรัตนโกสินทร์ กรุงเทพฯ 1พฤษภาคม 2540

4.ต้องติดอาวุธทางความคิดด้วยการศึกษาหล่อหลอมอย่างเป็นระบบโดยมาตรการ “อธิบาย อธิบาย และอธิบาย”ลัทธิประชาธิปไตย (Democracy) อันเป็นการสร้างอุดมการ ( Ideology ) ให้แก่กรรมกรไทยเพื่อร่วมกันสร้างสังคมประชาธิปไตย อันเป็นอุดมคติ ( Ideal ) คือทั้งด้านปรัชญา ด้านรัฐศาสตร์ และด้านเศรษฐศาสตร์ รวมทั้งความรู้ความเข้าใจลัทธิเผด็จการและลัทธิคอมมิวนิสต์ด้วย เพราะไม่รู้ลัทธิเผด็จการ และไม่รู้ลัทธิคอมมิวนิสต์ก็จะไม่รู้ลัทธิประชาธิปไตย นั่นเอง

5. สร้างผู้นำกรรมกรและสร้างนักวิชาการกรรมกรอันเป็นผู้นำมวลชนประชาธิปไตย ให้มีความสมบูรณ์เพียงพอสามารถนำได้ครบทุกระดับ คือ นำทางการจัดตั้ง นำทางการเมือง นำทางความคิดและนำทางจิตวิญญาณ ผู้นำกรรมกรและนักวิชาการกรรมกรดังกล่าวจะมีความสมบูรณ์ในทางด้านจิตวิญญาณคือ มีอนัตตา(โมกษธรรม)เป็นจุดยืนทางจิตวิญญาณ มีจุดยืนประชาชนเป็นจุดยืนทางความคิด มีเอกภาพสมบูรณ์ของวัตถุนิยมและจิตนิยมเป็นทรรศนะมีเอกภาพสมบูรณ์ของวิภาษวิธีและอภิปรัชญาเป็นมรรควิธี ถือหลักปรัชญาจาก “เอกภาพด้านตรงข้าม…สู่…เอกภาพความแตกต่าง..สู่…เอกภาพสมบูรณ์”นั่นคือ “การประสานโมกษธรรมเข้ากับการเมือง …อนัตตาทางจิตใจ ประชาธิปไตยทางสังคม”
6.ไม่ยอมจำนนอยู่ภายใต้ลัทธิสหภาพไม่อยู่ภายใต้กฎหมายของนายทุนที่เป็นเผด็จการ ที่ทำลายความเป็นเอกภาพของกรรมกรโดยติดอาวุธทางความคิดด้วยลัทธิประชาธิปไตย และอาวุธทางจิตวิญญาณโดยขจัดความกลัวออกจากจิตใจ ให้บรรลุโมกษธรรม เกิดความไม่กลัว (Fearlessness) จัดตั้งองค์การระดับชาติที่เป็นอิสระของกรรมกรเองตามสิทธิรัฐธรรมนูญมาตรา45 นั่นคือ ทำให้เกิด “อิสรภาพทางจิตวิญญาณ …สู่…อิสรภาพทางความคิด…สู่…อิสรภาพทางการเมือง…สู่…อิสรภาพทางการจัดตั้ง”

7.ไม่ยอมขึ้นต่อองค์การแรงงานต่างชาติทั้งสิ้นโดยความสัมพันธ์อย่างถูกต้องตามหลักวิชา คือ สัมพันธ์แบบอิสระต่อกันไม่สัมพันธ์แบบขึ้นต่อกันที่ทำให้ไม่อิสระอ่อนแอ และยึดด้านชาติเป็นหลัก ถือด้านต่างชาติเป็นรอง ตามหลักพุทธศาสนา คือเป็นใหญ่ในตนเองหรือตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน นั่นเอง

8.ใช้คำศัพท์ที่ถูกต้องคือ“กรรมกร” ( Labourer ) ตามนักปราชญ์ผู้บัญญัติศัพท์ “กรรมกร” คือ พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ท่านได้อรรถาธิบายไว้ว่า “กรรมกร” เป็นผู้มีเกรียติคู่กับคำว่า “นายทุน” เพราะเป็นผู้สร้างระบบเศรษฐกิจเสรีนิยมหรือระบบทุนนิยมขึ้นในโลก โดยนายทุนเป็นผู้ออกทุนและกรรมกรเป็นผู้ออกแรงไม่มีนายทุนก็ไม่มีกรรมกร ไม่มีกรรมกรก็ไม่มีนายทุนและขาดข้างใดข้างหนึ่งก็ไม่มีระบบเศรษฐกิจเสรี (ระบบทุนนิยม)นอกจากนายทุนกับกรรมกรจะช่วยกันสร้างระบบเศรษฐกิจเสรีแล้วยังร่วมกันสร้างประชาธิปไตยอีกด้วย โดยนายทุนเป็นผู้เสนอหลักการประชาธิปไตยกรรมกรเป็นผู้ผลักดันหลักการประชาธิปไตยให้มีผลทางปฏิบัติถ้าไม่มีหลักการประชาธิปไตยของนายทุน หรือไม่มีการผลักดันการสร้างประชาธิปไตยก็จะไม่มีระบอบประชาธิปไตย ด้วยเหตุเหล่านี้ “กรรมกร”จึงมีเกรียติคู่กับคำว่า “นายทุน” ฉะนั้น เดิมทีคำว่า “กรรมกรจึงเป็นศัพท์ทางวิชาการที่ทางราชการนำมาใช้ เช่น ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที 17 ธันวาคม พ. ศ. 2498 ให้ถือวันที่ 1 พฤษภาคม เป็นวัน “กรรมกรแห่งชาติ” และเป็นศัพท์ที่ใช้กันโดยทั่วไปด้วยเช่น สหบาลกรรมกร สหภาพกรรมกร สหอาชีวกรรมกร สมาคมกรรมกรไทย เป็นต้น ส่วนคำว่า “ชนกรรมาชีพ” (Proletariat ) นั้นเป็นศัพท์ของลัทธิคอมมิวนิสต์ซึ่งตรงข้ามกับศัพท์คำว่า “ชนชั้นกลางหรือกฎุมภี”

9.ยุติบทบาทของผู้นำกรรมกรที่เป็นผู้แทนนายทุนหรือผู้แทนนายทุนในขบวนการกรรมกรลงเสียโดยทันทีด้วยมาตรการเปลี่ยนความคิดและจุดยืนของผู้นำกรรมกรปัจจุบันให้เป็นกรรมกรอย่างแท้จริงและสร้างผู้นำกรรมกรรุ่นใหม่เข้ามาแทนที่ผู้นำจอมปลอมให้มากและเร็วที่สุด

10. ขจัดความกลัวจากหัวใจของผู้นำกรรมกรปัจจุบันโดยมาตรการติดอาวุธทางความคิดและทางจิตวิญญาณ เพราะในสถานการณ์ปัจจุบันอยู่ในสภาพ “ผู้นำกรรมกรล้าหลังกว่ามวลชนกรรมกร” หรือ “มวลชนมีความก้าวหน้ากว่าผู้นำกรรมกร”ฉะนั้นจะต้องสร้างความคิดและจิตใจให้เกิดขึ้นกับผู้นำกรรมกรปัจจุบัน

ด้วย“บัญญัติ 10 ประการ” ข้างต้นนี้ คืออาวุธวิเศษที่จะพลิกจากความอ่อนแอพ่ายแพ้มาสู่ความเข้มแข็งมีเอกภาพมาสู่ชัยชนะของขบวนการกรรมกรไทยทั้งมวลทั้งนี้เป็นการนำเสนอต่อผู้นำกรรมกรทั้งอดีตและปัจจุบัน และมวลชนกรรมกรที่ก้าวหน้าอันเป็นการพัฒนาการต่อสู้…. สู่…. ชัยชนะ ของประเทศชาติประชาชน!

โดย อนุสรณ์ สมอ่อน



กรรมกรคือผู้ทำลายวงจรอุบาทว์ กู้ชาติสร้างประชาธิปไตย อย่างสันติวิธีถูกกฎหมายไม่เสี่ยงภัย

ขบวนการกรรมกรไทย โดย สมัชชากรรมกรแห่งชาติและสถาบันวิชาการกรรมกรขอชี้แจงเสียก่อนแต่ในเบื้องต้นว่าคำว่า “ขบวนการ” นั้น ภาษาอังกฤษ คือ “Movement” ซึ่งมีความหมายว่า “ส่วนทั้งหมดที่เคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกัน” ฉะนั้น ขบวนการกรรมกรไทยจึงหมายถึงส่วนทั้งหมดที่เคลื่อนไหวของกรรมกร ขบวนการกรรมกรไทยนั้นเกิดขึ้นตามพัฒนาการของยุคสมัยเมื่อโลกก้าวขึ้นสู่ยุคประวัติศาสตร์สมัยใหม่ ซึ่งมีระบบทุนนิยมอันเป็นระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่เป็นรากฐานผู้ดำเนินการของระบบทุนนิยมคือ “นายทุนและกรรมกร”โดยนายทุนมีหน้าที่ออกทุน กรรมกรมีหน้าที่ออกแรงงาน กรรมกรคือผู้ที่ไม่มีปัจจัยการผลิตเป็นของตนเองดำรงชีวิตอยู่ด้วยค่าจ้างในอุตสาหกรรมสมัยใหม่ดังนั้น ขบวนการกรรมกรไทย คือ ผู้ที่ไม่ได้เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต ดำรงชีพด้วยค่าจ้างซึ่งอยู่ในอุตสาหกรรมสมัยใหม่คืออุตสาหกรรมที่
ใช้พลังงานเครื่องจักร ไฟฟ้า ฯลฯ เช่น กรรมกรการรถไฟ กรรมกรโรงสีกรรมกรโรงงานกรรมกรทอผ้า กรรมกรรัฐวิสาหกิจ เป็นต้น


ขบวนการกรรมกรไทยได้ประกาศแนวทางแก้ไขปัญหาชาติของตนเองขึ้นเป็นทางการเมื่อวันที่26 กันยายน 2518 ซึ่งสรุปขึ้นจากผลการประชุมอภิปรายของผู้แทนกรรมกรทั่วประเทศณ ลุมพินีสถาน แนวทางแก้ปัญหาชาติของขบวนการกรรมกรไทยนี้เป็นแนวทางประชาธิปไตยที่ถูกต้องสะท้อนความต้องการประชาธิปไตยของประเทศชาติและประชาชนในยุคสมัยใหม่ ดังนั้น ขบวนการกรรมกรไทยจึงได้ก่อรูปขึ้นอย่างสมบูรณ์ทันทีที่ประกาศแนวทางแก้ไขปัญหาชาติของขบวนการกรรมกรไทยเมื่อวันที่ 26 กันยายน2518


ฉะนั้น ขบวนการกรรมกรไทย คือ มวลกรรมกรที่มีแนวทางประชาธิปไตยเท่านั้นกรรมกรที่มีแนวทางคอมมิวนิสต์หรือแนวทางรัฐธรรมนูญ (เผด็จการรัฐสภา) ย่อมไม่ใช่ขบวนการกรรมกรไทย แต่เป็น กรรมกรคอมมิวนิสต์ หรือ กรรมกรเผด็จการ นั่นเองเมื่อโลกพัฒนาด้วระบบทุนนิยมจะเกิดขบวนการเสรีนิยม 3ขบวนการ คือ

ขบวนการรัฐธรรมนูญ
ขบวนการประชาธิปไตย
ขบวนการชาตินิยม


ขบวนการรัฐธรรมนูญ โดยเนื้อแท้ คือ ขบวนการเผด็จการนั่นเองมีลัทธิรัฐธรรมนูญเป็นอุดมการขบวนการประชาธิปไตยมีลัทธิประชาธิปไตยเป็นอุดมการ และขบวนการชาตินิยมอาจเป็นไปได้ทั้งขบวนการเผด็จการและขบวนการประชาธิปไตยขบวนการกรรมกรไทยจึงสังกัดอยู่ในขบวนการประชาธิปไตยซึ่งเป็นขบวนการเสรีนิยมขบวนหนึ่งของประวัติศาสตร์ยุคใหม่นั่นเอง 

ฉะนั้นขบวนการกรรมกรไทยจึงมิได้สังกัดอยู่ในขบวนการรัฐธรรมนูญหรือขบวนการคอมมิวนิสต์แต่ขบวนการกรรมกรไทยสังกัดอยู่ในขบวนการประชาธิปไตยเท่านั้น

ขบวนการประชาธิปไตยนั้นได้เริ่มต้นขึ้นครั้งแรกในประเทศไทยโดยพระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ได้ทรงนำเอาลัทธิประชาธิปไตยซึ่งเป็นลัทธิการเมืองที่เกิดขึ้นจากระบบทุนนิยมมาประยุกต์เป็นพระบรมราโชบายแก้ไขการปกครองแผ่นดินสยามอันเป็นพระบรมราโชบายสถาปนาการปกครองแบบประชาธิปไตยนั่นเอง พระองค์ทรงสร้างประชาธิปไตยขึ้นครั้งแรกในประเทศไทย คือเปลี่ยนรัฐสมัยเก่าเป็นรัฐชาติสมัยใหม่
การตั้งเป็นกระทรง ทบวง กรมการให้เสรีภาพ “ทรงเลิกทาส”การวางรากฐานระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่ เช่น ทรงตั้งรัฐวิสาหกิจตั้งการธนาคารเป็นต้น


ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่6) ได้ทรงขยายเสรีภาพ ให้การศึกษาประชาธิปไตยแก่ประชาชน ทรงตั้ง “ดุสิตธานี” จนได้รับการขนานพระนามจากชาวยุโรปว่า “DemocraticKing”หรือ “พระมหากษัตริย์ประชาธิปไตย”พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่7) ทรงกำลังสร้างการปกครองแบบประชาธิปไตยขั้นตอนสุดท้าย คือ ทรงสละอำนาจของพระองค์ให้แก่ราษฎรทั้งหลายนั่นคือ สร้างอำนาจอธิปไตยของปวงชน (Sovereignty of the People) นั่นเองโดยทรงตั้ง “สภากรรมกรองคมนตรี” ซึ่งทำหน้าที่เป็นสภาผู้แทนราษฎรชั่วคราวซึ่งเป็นรัฐบาลเฉพาะกาลทำหน้าที่ในระยะผ่านไปสู่การปกครองแบบประชาธิปไตยและทรงเตรียมพระราชทานรัฐธรรมนูญเพื่อรักษาการปกครองแบบประชาธิปไตยที่ทรงสร้างสำเร็จแล้วนั้น แต่ได้เกิดเหตุการณ์ 24 มิถุนายน 2475ขึ้นเสียก่อน พระราชภารกิจสร้างการปกครองแบบประชาธิปไตยของพระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์จึงสะดุดหยุดลงและถูกกลบฝังทับถมโดยขบวนการรัฐธรรมนูญหรือขบวนการเผด็จการ


รัฐสภามาจนกระทั่งปัจจุบันต่อมาโลกได้เกิดขบวนการคอมมิวนิสต์ขึ้น ประมาณศตวรรษที่18-19 โดย คาร์ลมาร์กซ์และเองเกลได้แผ่ขยายเข้ามาสู่ประเทศไทย จึงเกิดเป็นขวนการทางการเมืองขึ้นอีกขบวนการหนึ่งขึ้นในประเทศไทยคือ
ขบวนการคอมมิวนิสต์ ดังนั้น จึงมี 3 ขบวนการในประเทศไทย คือ

ขบวนการรัฐธรรมนูญ หรือ เผด็จการรัฐสภา

ขบวนการประชาธิปไตย

ขบวนการคอมมิวนิสต์


กรรมกรไทยได้ร่วมกันสืบทอดเอาพระราชภารกิจสร้างประชาธิปไตยของพระมหากษัตริย์ที่ถูกทำลายลงเมื่อ 24 มิถุนายน2475มาประยุกต์เข้ากับสภาวการณ์ปัจจุบันสรุปขึ้นเป็น “แนวทางแก้ไปปัญหาชาติของขบวนการกรรมกรไทย พ.ศ.2518” แนวทางแก้ไขปัญหาชาติของขบวนการกรรมกรไทยเป็นแนวทางที่มีความถูกต้องสมบูรณ์ที่สุด ข้อพิสูจน์ความถูกต้องสมบูรณ์ของแนวทางแก้ไขปัญหาชาติของขบวนการกรรมกรไทยคือ กองทัพแห่งชาติได้นำเอาแนวทางนี้ไปประยุกต์ขึ้นเป็น “นโยบายแห่งชาติ”ในรูปของ“นโยบายต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์”ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 66/2523 โดยรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ผลจากการปฏิบัตินโยบาย 66/23 ที่ประยุกต์มาจากแนวทางแก้ไขปัญหาชาติของ
ขบวนการกรรมกรไทยดังกล่าวแล้ว มีผลเอาชนะสงครามกลางเมืองคอมมิวนิสต์ รักษาชาติและราชบัลลังก์ไว้ได้เมื่อยุติสงครามแล้วกองทัพแห่งชาติได้ยุติการปฏิบัตินโยบาย 66/23 ขั้นตอนที่2 คือ สร้างประชาธิปไตยให้สำเร็จ สถานการณ์ของประเทศชาติจึงต้องตกอยู่บนบ่าของกรรมกรไทยในปัจจุบัน


ดังนั้น ภารกิจการสร้างประชาธิปไตยจึงตกอยู่บนบ่าของกรรมกรไทยในปัจจุบันตามกฎเกณฑ์ของการสร้างประชาธิปไตยในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ซึ่งเป็นกฎทั่วไป คือ กรรมกรต้องผลักดันการสร้างประชาธิปไตยจึงจะประสบความสำเร็จได้ถ้าปราศจากการผลักดันของกรรมกรจะไม่สามารถสร้างประชาธิปไตยให้สำเร็จได้ นั่นคือการสร้างประชาธิปไตยโดยพระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไม่สำเร็จเพราะถูกขัดขวางทำลายลงเมื่อ 24มิถุนายน2475 ถ้ามีการผลักดันของขบวนการกรรมกรไทยก็จะบรรลุความสำเร็จได้ แต่การก่อรูปของขบวนการกรรมกรไทยในสมัยนั้นยังไม่ได้ก่อรูปขึ้นอย่างเพียงพอและเข้มแข็งสมบูรณ์จึงทำให้ไม่มีบทบาทผลักดันของกรรมกร ภารกิจสร้างประชาธิปไตยของพระมหากษัตริย์จึงล้มเหลวการสร้างประชาธิปไตยโดยกองทัพแห่งชาติโดยนโยบาย 66/23 ยังไม่ประสบความสำเร็จเพราะกองทัพแห่งชาติไม่ปฏิบัตินโยบายต่อยุติบทบาทลงเสียก่อนขบวนการกรรมกรไทยจึงไม่อาจช่วยผลักดันได้


แต่กฎเฉพาะของการสร้างประชาธิปไตยในประเทศไทยนั้นจะต้องเป็นภารกิจของพระมหากษัตริย์ถ้าพระมหากษัตริย์ถูกขัดขวางกีดกัน ประชาธิปไตยก็ไม่เกิด แม้ว่ากรรมกรจะผลักดันตามกฎทั่วไปของการสร้างประชาธิปไตยก็ไม่สำเร็จถ้าพระมหากษัตริย์ถูกขัดขวางไม่ให้แสดงบทบาทสร้างประชาธิปไตยอุปสรรคที่สำคัญ คือ อำนาจอธิปไตยเป็นของคนส่วนน้อย ไม่ได้เป็นของพระมหากษัตริย์ จึงทรงสร้างประชาธิปไตยไม่ได้อีกทั้งมีปัญหาที่สำคัญที่ยังแก้ไม่ตกคือ ปัญหาความเห็น นั่นคือ มีความเห็นผิดว่าปัจจุบันเป็นระบอบประชาธิปไตยแล้วหรืออำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนแล้วเพื่อแก้ปัญหาความเห็นให้ถูก สร้างประชามติให้พระมหากษัตริย์ทรงสร้างประชาธิปไตยเพื่อให้คนส่วนน้อยคืนอำนาจแด่พระมหากษัตริย์จะต้องใช้มาตรการสันติตามหลักพุทธอหิงสาธรรมคือ “การถวายฎีกาของพระราชทานรัฐบาลแห่งชาติเพื่อกู้ชาติสร้างประชาธิปไตย” การใช้แนวทางการชุมนุมใหญ่หรือเดินขบวนซึ่งล้มเหลวมาโดยตลอดในอดีต เป็นข้อพิสูจน์ชัดเจนของการกำหนดแนวทางที่ผิด มีเพียงแนวทางปฏิวัติสันติของพระมหากษัตริย์กับแนวทางการหยุดงานทั่วไปเพื่อสร้างประชาธิปไตยของกรรมกรไทยเท่านั้นจึงจะนำ พาไปสู่ความสำเร็จของภารกิจสร้างประชาธิปไตยแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจและสังคมได้จริง ฉะนั้น ถ้ากรรมกรซึ่งมีอาวุธสำคัญซ่อนอยู่ในฝัก คือ “การหยุดงานทั่วไป”ลงมือปฏิบัติแนวทางแก้ไขปัญหาชาติของขบวนการกรรมกรไทยด้วยการ “การถวายฎีกาของพระราชทานรัฐบาลแห่งชาติเพื่อกู้ชาติสร้างประชาธิปไตย แก้วิกฤตเศรษฐกิจและสังคม” นั่นเอง วิธีการที่ถูกต้องย่อมนำไปสู่ความมุ่งหมายที่ชอบธรรมได้เมื่อนั้นวงจรอุบาทว์ของระบอบเผด็จการรัฐสภาถูกทำลายลง วงจรอุบาทว์นี้ทำให้ชาติล่มจมและเป็นอุปสรรคต่อการสร้างประชาธิปไตย นั่นเอง


สถาบันวิชาการกรรมกรไทย
สมัชชากรรมกรแห่งชาติ
ธันวาคม 2551