วันศุกร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

จดหมายเปิดผนึก ฉบับที่ ๗/๒๕๕๗ เรื่อง ภารกิจเร่งด่วนที่สุด...จะสร้างความปรองดองแห่งชาติให้สำเร็จโดย คสช.ได้อย่างไร...???

จดหมายเปิดผนึก
สภาประชาชนปฏิวัติสันติแห่งชาติ
ฉบับที่ ๗/๒๕๕๗ 

ถึง...คณะรักษาความสงบแห่งชาติ...นำโดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา 

"เรื่อง ภารกิจเร่งด่วนที่สุด...จะสร้างความปรองดองแห่งชาติให้สำเร็จโดย คสช.ได้อย่างไร...???"

๑. การสร้างความปรองดองแห่งชาติ(National Reconciliation) นั้น เป็นเจตนารมณ์ที่ดียิ่ง และเป็นขั้นตอนการแก้ปัญหาชาติที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เพราะปัญหาแรกของการแก้ปัญหาทั้งปวงนั้น จะต้องเริ่มต้นด้วยการสร้างความปรองดอง สร้างความสามัคคีขึ้นภายในชาติเสียก่อนอื่นทั้งสิ้น ถ้าไม่มีความปรองดองแห่งชาติหรือไม่มีความสามัคคีแห่งชาติ ก็ไม่อาจจะแก้ปัญหาทั้งสิ้นของชาติบ้านเมืองได้เลย ดังเช่น ถ้าไฟไหม้บ้านอยู่ เราจะไปพัฒนาบ้านนั้นทำไม่ได้เลย จะต้องดับไฟเสียก่อน ในอดีตเรามีสงครามกลางเมือง(Civil War) ระหว่างกองทัพแห่งชาติ..กับ..กองทัพปลดแอกของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย(พคท.) ตั้งแต่วันเสียงปืนแตก พ.ศ. 2508 เราจึงทำการพัฒนาชาติบ้านเมืองไม่ได้ จะต้องดับไพสงครามกลางเมืองเสียก่อน โดยได้นำเอาแนวทางประชาธิปไตยของ ร.๕ ร.๖ ร.๗ มาประยุกต์เข้ากับสถานการณ์สงครามกลางเมืองเป็น... “นโยบาย ๖๖/๒๓” ซึ่งมียุทธศาสตร์ ๒ ขั้นตอน คือ...

- ขั้นตอนที่ ๑ คือ...เอาชนะยุทธวิธีสงครามของคอมมิวนิสต์...ด้วยการสร้างประชาธิปไตยระดับต่ำ

- ขั้นตอนที่ ๒ คือ..เอาชนะคอมมิวนิสต์ทั้งพรรคและแนวร่วม..ด้วยการสร้างประชาธิปไตยระดับสูง

กองทัพแห่งชาติซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบหลักต่อนโยบาย ๖๖/๒๓ ก็ได้ปฏิบัติยุทธศาสตร์ขั้นตอนที่ ๑ ได้สำเร็จอย่างงดงาม นำประเทศจาก.. “สถานการณ์สงคราม”..มาสู่.. “สถานการณ์สันติภาพ” เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๕ อันเป็นสร้างความสามัคคีแห่งชาติโดยพื้นฐาน ต่อจากนั้นก็จะมีเงื่อนไขให้สามารถทำการพัฒนาประเทศได้สำเร็จ ด้วยการ.. “สร้างประชาธิปไตย” หรือเรียกทางวิชาการว่า.... “ การปฏิวัติประชาธิปไตย”(Democratic Revolution)ของลัทธิประชาธิปไตย แต่กองทัพและรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ถูกขัดขวางจากขบวนการเผด็จการรัฐสภา(ทุนนิยมผูกขาด)ซึ่งเป็นแนวร่วมคอมมิวนิสต์(United Front) จึงไม่อาจจะสร้างประชาธิปไตยขั้นสูงสุดขั้นตอนที่ ๒ สำเร็จได้มาจนกระทั่งถึงบัดนี้ สถานการณ์ประเทศจึงกำลังจะหวนกลับมาสู่สถานการณ์สงครามอีกครั้งหนึ่ง แต่กองทัพแห่งชาตินำโดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. ได้ใช้กฎอัยการศึก พ.ศ. ๒๔๕๗)ซึ่งเป็นรูปหนึ่งของกฎหมายสูงสุด(Supreme Law) คือ... “ความมั่นคงแห่งชาติและความปลอดภัยของประชาชนเป็นกฎหมายสูงสุด” สูงกว่ากฎหมายหลักคือรัฐธรรมนูญ(Principle Law) และกฎหมายสามัญ(Common Law) เข้าแก้ปัญหาด้วยการเจรจาอย่างสันติ แต่ไม่อาจจะยุติปัญหาได้ จึงเข้าควบคุมอำนาจการปกครองประเทศอย่างสันติและถูกฎหมาย โดยอ้างกฎหมายสูงสุดคือ... “เพื่อความมั่นคงของชาติและความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน” โดยตั้งเป็น.. “คณะรักษาความสงบแห่งชาติ” (คสช.) อันเป็นองค์การที่ถืออำนาจอธิปไตยหรืออำนาจรัฐชนิดสูงสุดอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดสิ้นเชิง จึงเป็นองค์การรัฎฐาธิปัตย์สูงสุด(The Supreme Sovereignty) และได้กำหนดแนวทางเป็น 3 ขั้นตอน คือ...

- ขั้นตอนที่ ๑...คือ.. “สร้างความปรองดองแห่งชาติ” ใช้เวลาประมาณ ๓ – ๔ เดือน

- ขั้นตอนที่ ๒...คือ.. “ทำการปฏิรูปโครงสร้างการเมืองและอื่นๆ” ใช้เวลาประมาณ ๑ ปี

- ขั้นตอนที่ ๓...คือ.. “ทำการเลือกตั้งทั่วไป” ใช้เวลาตามสมควร

การสร้างความปรองดองแห่งชาติตามที่ คสช.กำหนดแนวทางไว้นั้น จะบรรลุความสำเร็จได้จะต้องมีมาตรการวิธีการที่ถูกต้องสอดคล้องกับเงื่อนไขของยุคสมัยปัจจุบันดังต่อไปนี้...

๒. ความปรองดองแห่งชาติ(National Reconciliation) นั้น เป็นความสามัคคีหรือความปรองดองในยุคประวัติศาสตร์สมัยใหม่(Modern History) ที่ประเทศชาติเราใช้รูปของรัฐแบบ.. “รัฐแห่งชาติ”(National State) อันเป็นรัฐสมัยใหม่ ดังเช่น ความสามัคคีที่สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ร.๕ ร.๖ ร.๗ ร.๙ และนโยบาย ๖๖/๒๓ ได้สร้างขึ้นตามลัทธิชาติ(Nationalism) และลัทธิประชาธิปไตย(Democracy) เพื่อต่อสู้เอาชนะลัทธิล่าอาณานิคม(Colonialism)และลัทธิคอมมิวนิสต์(Communism) อันเป็นการสร้างความสามัคคีหรือความปรองดองตามกฎเกณฑ์ของยุคทุนนิยม(Capitalism) จึงประสบความสำเร็จ นั่นคือ...จะต้องศึกษาปัญหาชาติ(National Problem)หรือการสร้างชาติสมัยใหม่ตั้งรัฐแห่งชาติอันเป็นรัฐเอกราชตามลัทธิชาติโดย ร.๕ หรือชาตินิยมแบบประชาธิปไตยโดย ร.๖ และปัญหาประชาธิปไตย(Democratic Problem)หรือการสร้างประชาธิปไตยให้ก้าวหน้าทันสมัยในขั้นตอนที่ 1 เพื่อต่อสู้เอาชนะสงครามล่าอาณานิคมของประเทศตะวันตกฝรั่งต่างชาติอริราชศัตรู ทำให้สามารถรักษาเอกราชไว้ได้ และต้องศึกษาการต่อสู้เอาชนะภัยของลัทธิคอมมิวนิสต์ด้วยการสร้างประชาธิปไตยตามนโยบาย ๖๖/๒๓ ทั้ง ๒ ขั้นตอน จึงจะเป็นการสร้างความสามัคคีของชาติสมัยใหม่หรือความปรองดองของชาติสมัยใหม่(Unity or Reconciliation of National State in Modern History)

ไม่ใช่ความสามัคคีหรือความปรองดองในยุคประวัติศาสตร์สมัยกลาง(Middle Age)ที่ใช้รูปของรัฐแบบ.. “รัฐเจ้าครองนคร”(Feudal State) อันเป็นรัฐสมัยเก่า ดังเช่น พระนเรศวร และพระเจ้าตากสิน ใช้ลัทธิเจ้าครองนคร(Feudalism) และลัทธิรักชาติ(Patriotism) ต่อสู้กอบกู้ชาติเอาชนะลัทธิแผ่กฤษฎานุภาพ(Expansionism) และลัทธิอ้างความเป็นเจ้า(Hegemonism) ของพม่าข้าศึก อันเป็นการสร้างความสามัคคีหรือความปรองดองตามกฎเกณฑ์ของยุคสมัยกลาง(Medieval Order) จึงประสบความสำเร็จในการต่อสู้กอบกู้กรุงศรีอยุธยาได้ แต่จะเอามาใช้กับปัจจุบันในยุคประวัติศาสตร์สมัยใหม่นั้น ย่อมไม่สอดคล้องไม่สามารถจะแก้ปัญหาชาติและประชาชนได้สำเร็จ แต่ใช้ยกระดับจิตสำนึกรักษารักแผ่นดินได้เพียงระดับหนึ่งเท่านั้น อันเป็นการสร้างความสามัคคีแห่งรัฐสมัยกลางหรือความปรองดองแห่งรัฐสมัยกลาง(Unity or Reconciliation of Feudal State in Middle Ate)

ดังนั้น จึงเป็นการสร้างความปรองดองแห่งชาติ หรือสร้างความสามัคคีแห่งชาติตามกฎเกณฑ์อย่างถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์บริบูรณ์คือ... “เอาการสร้างความปรองดองตามกฎเกณฑ์ของชาติสมัยใหม่เป็นส่วนหลัก...เอาการสร้างความปรองดองตามกฎเกณฑ์ของสมัยกลางเป็นส่วนประกอบ” นั่นเอง
โดยทำการศึกษาและเผยแพร่ รณรงค์ให้ประชาชนทั้งประเทศรู้ประวัติศาสตร์ทั้ง 2 ยุคสมัยอย่างสัมพันธ์กันอย่างเป็นระบบครบถ้วน(Systematically) และรู้ว่าจะสานต่อการแก้ปัญหาชาติสมัยใหม่ที่ยังขาดอยู่ในขั้นตอนที่ 2 อย่างไร เป็นบันได ๓ ขั้น คือ...

บันไดขั้นที่ ๑...การต่อสู้เอาชนะพม่าข้าศึกนักล่าประเทศราช(Expansionist) โดยสมเด็จพระนเรศวร และพระเจ้าตากสิน อันเป็นการสร้างความปรองดองแห่งรัฐเจ้าครองนครสมัยเก่า

บันไดขั้นที่ ๒...การต่อสู้เอาชนะฝรั่งต่างชาตินักล่าอาณานิคม(Colonialist) โดยสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ร.๕ อันเป็นการสร้างความปรองดองแห่งชาติสมัยใหม่

บันไดขั้นที่ ๓...การต่อสู้เอาชนะคอมมิวนิสต์(Communist) โดยกองทัพแห่งชาติ ตามนโยบาย ๖๖/๒๓ ทั้งยุทธศาสตร์ ๒ ขั้นตอน อันเป็นการสร้างความปรองดองแห่งชาติสมัยใหม่

๓. การสร้างความปรองดองแห่งชาติ หรือการสร้างความสมานฉันท์แห่งชาติ หรือการสร้างความสามัคคีแห่งชาติ ที่ผ่านมาทุกรัฐบาลล้วนประสบความล้มเหลวลงอย่างสิ้นเชิงเช่นเดียวกัน เพราะเป็นการสร้างความปรองดองโดยไม่รู้จักความขัดแย้งและไม่ได้แก้ปัญหาความขัดแย้ง(Contradiction) ดังนั้น ถ้าต้องการจะสร้างความปรองดองแห่งชาติจะแก้ปัญหาความขัดแย้งให้สำเร็จ ทั้งความขัดแย้งทางโครงสร้าง(Structural Contradiction)อันเป็นโครงสร้างชั้นล่าง และความขัดแย้งทางความคิด(Thinking Contradiction)อันเป็นโครงสร้างขั้นบน ดังต่อไปนี้...
๓.๑) ความขัดแย้งทางโครงสร้าง(Structural Contradiction)

ในระบบทุนนิยมมีความขัดแย้ง 3 ระดับ คือ...(๑) ความขัดแย้งพื้นฐานระหว่างเศรษฐกิจกับการเมือง (๒) ความขัดแย้งหลักระหว่างประชาชนกับผู้ปกครอง (๓) ความขัดแย้งภายในขบวนการเผด็จการ ซึ่งส่งผลความขัดแย้งจากความขัดแย้งพื้นฐาน..ไปสู่..ความขัดแย้งหลัก..ไปสู่..ความขัดแย้งในขบวนเผด็จการ เป็นตามลำดับอันเป็นกฎเกณฑ์

(๑)...ความขัดแย้งพื้นฐาน ระหว่าง.. “เศรษฐกิจที่ก้าวหน้า..กับ..การเมืองที่ล้าหลัง” คือ ความขัดแย้งระหว่าง.. “ระบบเศรษฐกิจเสรีนิยม..กับ..ระบอบการเมืองเผด็จการ” อันเกิดจากความขัดแย้งภายในสุดของระบบทุนนิยมคือ.. “ความขัดแย้งระหว่างพลังการผลิต..กับ..ความสัมพันธ์การผลิต” (Power of Production & Relation of Production) ประเทศไทยได้ใช้ระบบเศรษฐกิจเสรีหรืออุตสาหกรรมมายาวนาน จะต้องเปลี่ยนการปกครองให้สอดคล้องกันให้เป็นระบอบประชาธิปไตย (จาก..ระบบ..มาสู่..ระบอบ) คือ..ยกเลิกการปกครองระบอบเผด็จการที่เป็นอุปสรรคขัดขวางต่อระบบเสรีนิยม(อุตสาหกรรม) สร้างระบอบประชาธิปไตยที่ส่งเสริมระบบเศรษฐกิจเสรีนิยม(อุตสาหกรรม) แต่ประเทศไทยพัฒนาระบบเศรษฐกิจเสรีนิยม(อุตสาหกรรม)มายาวนานนับกว่า 100 ปี แต่ไม่มีการยกเลิกระบอบเผด็จการ สร้างระบอบประชาธิปไตย จึงเกิดความขัดแย้งที่อัดแน่นยิ่งขึ้นๆทุกขณะ จนเกิดการระเบิดออกมาในรูปของวิกฤติจลาจล มิคสัญญีกลียุค และสงครามกลางเมือง(Civil War) ต่างๆมากมายตลอดมา

เพราะ พลังการผลิตที่ก้าวหน้า..ขัดแย้งกับ..ความสัมพันธ์การผลิตที่ล้าหลัง นั่นคือ.. “พลังการผลิต..จะผลักดัน..ความสัมพันธ์การผลิต” (พลังการผลิตเป็นพลังผลักดัน-Active หรือ Dynamic แต่ความสัมพันธ์การผลิตเป็นส่วนถูกผลักดัน-Passive หรือ Static) นำไปสู่ระบบเศรษฐกิจเสรีนิยม..จะผลักดัน..ให้เกิดระบอบการเมืองประชาธิปไตย เพราะเศรษฐกิจเป็นรากฐานของการเมืองการปกครอง(Economic Base) แต่เมื่อความขัดแย้งตามธรรมชาติดังกล่าวถึงขัดขวาง ไม่ให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ความขัดแย้งคือ..เปลี่ยนการปกครองให้สอดคล้องเป็นระบอบประชาธิปไตยซึ่งเป็นความขัดแย้งที่เป็นคุณหรือสร้างสรรค์(Perspective Contradiction) ก็จะเกิดการอัดแน่นขึ้นๆ จนเกิดเป็นความขัดแย้งที่ทำลาย(Destructive Contradiction) อุตสาหกรรมจะทำลายเกษตรกรรมเกิดปรากฏการณ์.. “ชนบทล่มสลาย...เมืองใหญ่วิกฤตการณ์” ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็กจะถูกทำลายลงเกิดปรากฏการณ์.. “วิกฤติกลียุคเศรษฐกิจ...การเมืองเป็นพิษมิคสัญญี”

(๒)...ความขัดแย้งหลักระหว่างประชาชนกับผู้ปกครอง(Principle Contradiction)
ความขัดแย้งพื้นฐานดังกล่าว ได้ส่งผ่าน หรือก่อผลสะเทือน ผลักดันให้เกิดความขัดแย้งหลัก ระหว่าง.. “ประชาชน..กับ..ผู้ปกครอง” คือ...ประชาชนจะซึมซับเอาความขัดแย้งทางโครงสร้างในด้านส่วนที่ก้าวหน้าฝ่ายประชาธิปไตย ส่วนผู้ปกครองอยู่ในส่วนที่ล้าหลังฝ่ายระบอบเผด็จการอย่างเป็นไปเอง นั่นคือ ประชาชนต้องการระบอบประชาธิปไตย แต่ผู้ปกครองรักษาระบอบเผด็จการไว้ อันเป็นความขัดแย้งที่มีอยู่ตามธรรมชาติถ้าเราใช้ระบบทุนนิยม จะไม่ให้มีความขัดแย้งไม่ได้ เราทำได้แต่เพียงปรับให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ของความขัดแย้ง คือ สร้างประชาธิปไตยตามความขัดแย้งที่ผลักดันให้เปลี่ยนแปลงไปตามยุคประวัติศาสตร์สมัยใหม่ นั่นคือ... “ปรับเงื่อนไขทางอัตตะวิสัย(Subjective Factor) ให้สอดคล้องกับเงื่อนไขทางภาวะวิสัย(Objective Condition)”
ถ้ามนุษย์ไม่สามารถสะท้อนภาพของความขัดแย้งดังกล่าวได้ และไม่ยินยอมทำตามกฎเกณฑ์ของความขัดแย้ง...ก็จะทำให้มนุษย์เกิดความขัดแย้งกับกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ ไม่ยอมทำการเปลี่ยนแปลงให้มีระบอบประชาธิปไตย รักษาระบอบเผด็จการไว้ ความขัดแย้งหลักดังกล่าวก็จะอัดแน่นเกิดระเบิดเป็นวิฤตการณ์ต่างๆอย่างทั่วด้าน ทั้งวิกฤตการณ์ทางการเมือง ทั้งวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ ทั้งวิกฤตการณ์ทางวัฒนธรรม เป็นวิกฤตการณ์สังคม(Social Crisis) หรือ อัตตะวิสัย(Subjective)..ขัดแย้งกับ..ภาวะวิสัย(Objective) และประชาชนที่สะท้อนภาพความขัดแย้งทางโครงสร้างได้อย่างถูกต้อง และต้องการจะทำตามกฎแห่งความเปลี่ยนแปลง แต่ผู้ปกครองไม่สามารถสะท้อนภาพความขัดแย้งได้จึงไม่ทำตามกฎแห่งความขัดแย้งดังกล่าว จึงเกิดความขัดแย้งกับประชาชน เกิดการต่อสู้กันเป็น จลาจลนองเลือด มิคสัญญีกลียุค สงครามกลางเมือง

ประเทศไทยมีระบอบเผด็จการ 2 รูป คือ...
- ระบอบเผด็จการรัฐประหาร(เผด็จการทหาร)
- ระบอบเผด็จการรัฐสภา(เผด็จการพลเรือน)
ประชาชนถูกแบ่งออกเป็น 3 ฝ่าย คือ...

(๒.๑) “ม็อบเสื้อเหลือง”...ต่อต้านระบอบเผด็จการรัฐสภา เป็นมวลชนช่วยรักษาระบอบเผด็จการให้กับพรรคปกครองอีกฝ่ายหนึ่ง โดยเอาระบอบเผด็จการรัฐประหารเป็นเครื่องมือในการต่อสู้ทำลายระบอบเผด็จการรัฐสภา อันเป็นแนวทางลัทธิรัฐธรรมนูญของคณะราษฎร เพราะสะท้อนภาพความขัดแย้งไม่ถูกต้องตามกฎเกณฑ์แห่งความขัดแย้งแห่งยุคสมัยใหม่ หรือสะท้อนถูกด้านเดียว แต่ไม่ใช่ความผิดของประชาชน(ม็อบเสื้อเหลือง) แต่เป็นความเห็นผิดมิจฉาทิฎฐิต่างหาก อนึ่ง คอมมิวนิสต์ซึ่งเหลือแก้ว ๒ ดวง คือ.. “พรรค และ แนวร่วม”...ได้เข้าทำแนวร่วมระดับหนึ่งกับม็อบเสื้อเหลืองโดยไม่รู้ตัว เพื่อยกระดับขึ้นสู่สงครามกลางเมืองขั้นตอนใหม่อันเป็นแก้วดวงที่ ๓ และพัฒนาไปสู่สงครามประชาชนยึดประเทศเป็นคอมมิวนิสต์ต่อไป ต่อไป

(๒.๒) “ม็อบเสื้อแดง”..ต่อต้านระบอบเผด็จการรัฐประหาร เป็นมวลชนช่วยรักษาระบอบเผด็จการให้กับพรรคปกครองอีกฝ่ายหนึ่ง โดยเอาระบอบเผด็จการรัฐสภาเป็นเครื่องมือในการต่อสู้โค่นล้มระบอบเผด็จการรัฐประหาร อันเป็นแนวทางลัทธิรัฐธรรมนูญของคณะราษฎร เพราะสะท้อนภาพความขัดแย้งไม่ถูกต้องตามกฎเกณฑ์แห่งความขัดแย้งแห่งยุคสมัยใหม่ หรือสะท้อนถูกด้านเดียว ซึ่งไม่ใช่ความผิดของประชาชน(ม็อบเสื้อแดง) แต่เป็นความเห็นผิดมิจฉาทิฎฐิต่างหาก อนึ่ง คอมมิวนิสต์ซึ่งเหลือแก้ว ๒ ดวงคือ.. “พรรค และ แนวร่วม”...ได้เข้าทำแนวร่วมระดับหนึ่งกับม็อบเสื้อแดงโดยไม่รู้ตัว เพื่อยกระดับขึ้นสู่สงครามกลางเมืองขั้นตอนใหม่อันเป็นแก้วดวงที่ ๓ และพัฒนาไปสู่สงครามประชาชนยึดประเทศเป็นคอมมิวนิสต์ ต่อไป

(๒.๓) “มวลชนประชาธิปไตย”..ที่ต่อสู้เอาชนะระบอบเผด็จการทั้ง ๒ รูป และสร้างระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง ตามแนวทางลัทธิประชาธิปไตยที่ถูกต้องของ ร.๕ ร.๖ ร.๗ และนโยบาย ๖๖/๒๓ เพราะสามารถสะท้อนภาพความขัดแย้งได้ถูกต้องตามกฎเกณฑ์ และต้องการจะทำการเปลี่ยนแปลงตามกฎเกณฑ์แห่งความขัดแย้งแห่งยุคสมัยใหม่ ดังเช่น มวลชนประชาธิปไตยของขบวนการประชาธิปไตยแห่งชาติ (สภาประชาชนปฏิวัติประชาธิปไตยแห่งชาติ) เป็นต้น
หมายเหตุ...ความขัดแย้งหลักระหว่างประชาชนกับผู้ปกครองที่เกิดจากความขัดแย้งพื้นฐานจะคลี่คลายจากความขัดแย้งทำลายเปลี่ยนเป็นความขัดแย้งสร้างสรรค์ ก็ต่อเมื่อได้สร้างระบอบประชาธิปไตยให้สำเร็จ ให้มีวิธีคิดประชาธิปไตย มีพรรคมวลชนประชาธิปไตย มีรัฐบาลประชาธิปไตย มีรัฐสภาประชาธิปไตย มีรัฐธรรมนูญประชาธิปไตย มีมวลชนประชาธิปไตย มีการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตย(หนึ่งคน หนึ่งเสียง-One Man One Vote & เลือกตั้งเสรี-Free Vote)

(๓)...ความขัดแย้งในขบวนการเผด็จการ(Dictatorial Contradiction)
ในขบวนการเผด็จการมี ๒ พวก คือ...

(๓.๑) “ความขัดแย้งระหว่างเผด็จการรัฐประหาร..กับ..เผด็จการรัฐสภา” ที่ต่อสู้แย่งชิงอำนาจกัน แต่ตอนหลังจากคณะรัฐประหาร รสช.พ.ศ. ๒๕๓๔ และคมช.พ.ศ. ๒๕๔๙ คณะรัฐประหารไม่ได้รักษาระบอบเผด็จการรัฐประหาร(ระบอบเผด็จการทหาร)อีกต่อไปแล้ว เพราะเป็นระบอบเผด็จการที่เก่าเกินไปที่จะดำรงอยู่ได้ในยุคสมัยปัจจุบันเพราะไม่สามารถจะหลอกลวงประชาชนว่าเป็นระบอบประชาธิปไตยได้ แต่กลับเป็นการรักษาระบอบเผด็จการรัฐสภาที่หลอกลวงประชาชนและกองทัพว่าเป็นระบอบประชาธิปไตย ดังนั้น ความขัดแย้งระหว่างระบอบเผด็จการรัฐประหาร..กับ..ระบอบเผด็จการรัฐสภาก็หมดไปแล้วอย่างสิ้นเชิง เพราะระบอบเผด็จการทหารไม่มีอีกแล้ว การรัฐประหารตอนหลังเป็นเพียง.. “วิธีการอย่างหนึ่งในการรักษาระบอบเผด็จการรัฐสภา”..เช่นเดียวกับ.. “วิธีการเลือกตั้ง” แต่คณะ คสช.พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นคณะฯที่จะทำการยกเลิกระบอบเผด็จการทั้ง ๒ รูป เพื่อสร้างระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง ตามกฎเกณฑ์แห่งความขัดแย้งที่ถูกต้องในยุคสมัยใหม่ ต่อไป

(๓.๒) “ความขัดแย้งระหว่างระหว่างเผด็จการรัฐสภาฝ่ายหนึ่ง..กับ..เผด็จการรัฐสภาอีกฝ่ายหนึ่ง” เช่น ความขัดแย้งระหว่างพรรคฝ่ายค้าน..กับ..พรรคฝ่ายรัฐบาล อันเป็น.. “คนละพรรค..แต่พวกเดียวกัน” คือพวกเผด็จการรัฐสภา หรือเผด็จการพลเรือน ต่อสู้แย่งชิงอำนาจกัน..โดยดึงเอาม็อบเสื้อแดงและม็อบเสื้อเหลือง และดึงเอากองทัพมาเป็นกำลังต่อสู้แย่งชิงอำนาจและรักษาอำนาจให้แก่พรรคของตน ด้วยการหลอกลวงว่าพรรคของตนเองเป็นประชาธิปไตย...แต่พรรคฝ่ายตรงข้ามเป็นเผด็จการ ดังเช่น ความขัดแย้งของขบวนการเผด็จการรัฐสภา ๒ ฝ่าย ๒ พรรค ๒ ม็อบ ในวิธีคิดลัทธิรัฐธรรมนูญอันเป็นลัทธิเผด็จการของคณะราษฎร...ที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)ได้โค่นล้มยุติลงไปเมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ ที่ก่อให้เกิดสภาวะอนาธิปไตยสุดขีด ที่กำลังจะยกระดับไปสู่มิคสัญญีกลียุค และสงครามกลางเมืองขั้นตอนใหม่ นั่นเอง
หมายเหตุ...ความขัดแย้งในขบวนการเผด็จการจะหมดสิ้นไป...เมื่อทำการยกเลิกระบอบเผด็จการรัฐสภาอย่างขุดรากถอนโคนทั้งวิธีคิดเผด็จการ(ลัทธิรัฐธรรมนูญ) พรรคเผด็จการ รัฐบาลเผด็จการ รัฐสภาเผด็จการ รัฐธรรมนูญเผด็จการ ม็อบเผด็จการ การเลือกตั้งแบบเผด็จการ

๔. ความขัดแย้งทางความคิด(Thinking Contradiction)
ความขัดแย้งทางความคิดที่เป็นอัตตะวิสัยย่อมสะท้อนภาพมาจากความขัดแย้งโครงสร้างอันเป็นภาวะวิสัย ซึ่งก็จะเป็นไปตามกฎเกณฑ์ของความขัดแย้งตามธรรมชาติแห่งยุคสมัยใหม่ จึงไม่เป็นปัญหาแต่อย่างใดทั้งสิ้น อันเป็นไปตามหลักปรัชญาที่ว่า... “จิตคือภาพสะท้อนของวัตถุในสมองคน” เมื่อจิตสามารถสะท้อนภาพวัตถุได้ถูกต้องก็จะเป็นทำการเปลี่ยนแปลงไปตามกฎเกณฑ์ทุกประการ นั่นคือ... “ขัดแย้ง..ไปสู่..เคลื่อนไหว..ไปสู่..เปลี่ยนแปลง..ไปสู่..พัฒนา” ซึ่งก็เป็นไปตามการสะท้อนภาพที่ถูกต้องตามข้อความดังกล่าวข้างต้นนี้ทั้งสิ้น

แต่มีปัญหาความคิดอย่างหนึ่งที่ผิดกฎเกณฑ์ธรรมชาติอันเป็นสัจธรรม(Truth)ที่มาจากความจริงแท้(Reality)..คือ..ปัญหาความเห็นผิด(มิจฉาทิฎฐิ) หรือปัญหาทฤษฎีผิด หรือ “Wrong Theoretical Problem” ซึ่งเป็นปัญหาแรกที่สุดของปัญหาความคิด อันเป็นไปตาม...

- ระบบความคิด(System of Thinking) หรืออุดมการณ์(Ideology)แห่งโลกสังคม(Social World) ในส่วนของ.. “วิธีคิด”(Way of Thinking) คือ...ทฤษฎี(Theory)..ไปสู่..แนวทาง(Line)..ไปสู่..หลักนโยบาย(Program & Platform)..ไปสู่..นโยบาย(Policy)..ไปสู่..มาตรการและวิธีการ(Measure & Tactic)..ไปสู่..ยุทธศาสตร์และยุทธวิธี(Strategy & Tactic) ดังเช่น ปัญหาความเห็นผิดว่า... “โลกแบบ” เปลี่ยนมาเป็นเห็นถูกว่า.. “โลกกลม”

- ระบบมรรค 8 ของพระพุทธศาสนาแห่งโลกความคิดจิตใจ(Spiritual World) คือ... “จาก..เห็นถูก..ไปสู่..คิดถูก..ไปสู่..พูดถูก..ไปสู่..ทำถูก..ไปสู่..เลี้ยงชีพถูก..ไปสู่..พยายามถูก..ไปสู่..สติถูก..ไปสู่..สมาธิถูก” ดังเช่น ปัญหาความเห็นผิดว่า.. “สุดโต่งไป ๒ ทางแห่งความเห็นผิด” เปลี่ยนเป็นความเห็นถูกว่า.. “อริยสัจ ๔ จะทำให้พ้นทุกข์”

ปัญหาความเห็นผิดของประเทศไทยที่เป็นปัญหาแรกที่สุดที่จะต้องแก้ไขก่อนปัญหาอื่นทั้งสิ้น..คือ..
“เห็นผิดว่าปัญหาประเทศไทยคือ..ระบอบดี..แต่..คนเลว”
“เห็นผิดว่าระบอบเผด็จการรัฐสภา..คือ..ระบอบประชาธิปไตย”

ดังนั้น ก็จะเป็นเงื่อนไขให้เกิดความขัดแย้งระหว่าง.. “คน..กับ..คน” ที่ต่างโทษกันไปกันมาว่า.. “คนนี้ คนนั้น คนโน้น...เป็นต้นเหตุของปัญหาชาติและประชาชน”...ความขัดแย้งจึงรุนแรงที่สุด เป็นความขัดแย้งที่ทำลายหรือไม่สร้างสรรค์ ต้องแตกสามัคคี แตกแยกแตกหัก เข้าต่อสู้ทำลายโค่นล้มฆ่าฟันกัน ดังเช่น ม็อบเสื้อแดง ม็อบเสื้อเหลือง เป็นความขัดแย้งที่ผิดต่อข้อเท็จจริงที่ดำรงอยู่จริง ไม่ไปโทษระบอบ ไม่ไปขัดแย้งต่อสู้ยกเลิกระบอบ เพราะเห็นผิดว่าระบอบดีแล้ว แต่คนเลว นั่นเอง
สรุปอยู่ในคำเดียวคือ.. “โทษคน..คือ..แตกแยกฆ่าฟันกัน”

ซึ่งเป็นความเห็นที่ผิดต่อข้อเท็จจริง(Fact) ที่ดำรงอยู่ตามจริงในการปกครองของประเทศไทย ที่มีมายาวนานกว่า ๘๑ ปี ตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ เพราะข้อเท็จจริงของปัญหาประเทศไทยที่ดำรงอยู่ในปัจจุบันนี้อันเป็นภาวะวิสัย(Objective) ที่เป็นความเห็นถูกทางอัตตะวิสัย(Subjective) คือ...
“เห็นถูกว่าปัญหาประเทศไทยคือ..ระบอบเลว..แต่..คนดี”
“เห็นถูกว่าระบอบปัจจุบันคือ..ระบอบเผด็จการรัฐสภา”

ดังนั้น จะเป็นเงื่อนไขให้เกิดความขัดแย้งระหว่าง.. “ระบอบเลว..กับ..คนดี” ที่หันไปโทษระบอบเลว..ไม่หลงผิดไปโทษคน..ให้ขัดแย้งรุนแรงฆ่าฟันโค่นล้มถล่มทำลายกัน ให้แตกสามัคคี แตกแยก แตกหักกันในระหว่างคนในชาติเดียวกันแต่อย่างใดทั้งสิ้น...แต่คนทุกฝ่ายจะหันหน้ามารวมกันสามัคคีกัน ปรองดองกันในชาติ...เพื่อต่อสู้ยกเลิกระบอบเลว.. “ระบอบเผด็จการรัฐสภา”ที่เป็นต้นเหตุของปัญหาชาติและปัญหาประชาชน แล้ว “สร้างระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง” ต่อไปโดยสวัสดี อย่างสันติอหิงสาพุทธ ไม่หลงรักษาระบอบเผด็จการรัฐสภา(เพราะเข้าใจผิดว่าเป็นระบอบประชาธิปไตย)ไว้ให้ทำลายชาติและทำร้ายประชาชนอีกต่อไป ซึ่งสรุปอยู่ในคำเดียว คือ.. “โทษระบอบ..คือ..สามัคคีปรองดองกัน”

ดังนั้น การแก้ปัญหาความคิดโดยเฉพาะ.. “ปัญหาความเห็น”..อันเป็นหัวใจที่สำคัญที่สุดของปัญหาความคิดนั้น...จะเป็นกุญแจทองที่ไขไปสู่ประตูแห่งความสำเร็จ แห่งชัยชนะ แห่งทางออก แห่งทางรอด แห่งทางเจริญรุ่งเรือง...ซึ่งต้องดำเนินการตามหลักวิชาของพระพุทธศาสนา และตามหลักวิชาของวิทยาศาสตร์สังคม คือ...
- ขั้นตอนที่ ๑...คือ.. “สร้างความเห็นถูก”(สัมมาทิฐิ)..ให้เกิดขึ้นใน คสช.และผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งสิ้น
- ขั้นตอนที่ ๒...คือ.. “สร้างความเห็นถูกออกไปทั่วประเทศ”(ทิฎฐิสามัญญตา)..ให้เกิดขึ้นกับประชาชน...ก็จะบังเกิด.. “ความปรองดองแห่งชาติทางความเห็น”..ก็จะนำไปสู่ความปรองดองแห่งชาติในการปฏิบัตินโยบายแก้ปัญหาชาติและแก้ปัญหาประชาชนต่อไปอย่างเป็นไปเอง...โดยมาตรการ.. “อธิบาย อธิบาย อธิบาย และอธิบาย” ทั้งภายในและภายนอก..ด้วยการใช้สื่อมวลชน(Press Organ)ทุกแขนง

และนิมนต์พระสงฆ์ในฐานะผู้นำทางจิตวิญญาณ(Spiritual Leader) จำนวน ๓ – ๔ แสนรูปทั่วประเทศ ให้.. “เทศนา เทศนา เทศนา และเทศนา” อันเป็นการ.. “เทศนาธรรมนะปรองดองแห่งชาติ” อันเป็นกิจของสงฆ์อยู่แล้ว ดังพุทธภาษิตว่า.. “สุขขา สังฆัสสะ สาม